ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ในเยาวชนชุมชนมุสลิมบ้านกลาง ตําบลบางเตยอําเภอเมือง จังหวัดพังงา
การพัฒนาทักษะชีวิตมีความจำเป็นในการช่วยให้บุคคลเลิกบุหรี่และป้องกันการสูบบุหรี่ได้ เป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการสูบบุหรี่ของเยาวชนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ในเยาว...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60297 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การพัฒนาทักษะชีวิตมีความจำเป็นในการช่วยให้บุคคลเลิกบุหรี่และป้องกันการสูบบุหรี่ได้ เป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการสูบบุหรี่ของเยาวชนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ในเยาวชน ชุมชนมุสลิมบ้านกลาง ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา โดยศึกษาใน กลุ่มตัวอย่างเยาวชนอายุ 13–15 ปี จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมกิจกรรมตามขั้นตอนของ โปรแกรมที่ออกแบบโดยใช้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีกิจกรรมสุขศึกษาจำนวน 6 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ Paired t-test และ Z-test
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ ทัศนคติ เกี่ยวกับบุหรี่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับบุหรี่ ทักษะการตัดสินใจไม่สูบบุหรี่และการแก้ปัญหา ทักษะการปฏิเสธโดยไม่เสียสัมพันธภาพ มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) คะแนนเฉลี่ยทักษะการตระหนักรู้ในตนเองเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p=0.001) และมีสัดส่วนความตั้งใจไม่สูบบุหรี่จากร้อยละ 48.6 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 98.1 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.001) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขศึกษามีผลทำให้เยาวชนอายุ 13-15 ปี มีความรู้ ทัศนคติ ทักษะ ชีวิตในการป้องกันการสูบบุหรี่ และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ดังนั้น บุคลากรสุขภาพที่ทำงานในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงเรียนควรพัฒนาโปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้แนวคิดทักษะชีวิต หลักศาสนาตามบริบทพื้นที่ และแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ของเยาวชนมากขึ้น |
---|