โปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารประยุกต์แบบจําลองข่าวสารแรงจูงใจและทักษะพฤติกรรมในผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดนนทบุรี

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหาร ประยุกต์แบบจำลอง ข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรมในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ศุภัชฌา สุดใจ, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุปรียา ตันสกุล, นิรัตน์ อิมาม, Supuscha Sudjai, Manirat Therawiwat, Supreya Tunsakul, Nirat Imamee
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60615
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหาร ประยุกต์แบบจำลอง ข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรมในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา จำนวน 7 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที ระยะเวลาทดลองใช้ 13 สัปดาห์ ประกอบไปด้วย 1.การให้ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน 2.การสร้างแรงจูงใจ ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจส่วนบุคคล โดยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ป่วยอื่นในการบริโภคอาหาร สำหรับการสร้างแรงจูงใจทางสังคม โดยการโทรศัพท์ติดตามจากผู้วิจัย 2 ครั้ง และการติดตามเยี่ยมบ้าน 1 ครั้ง จากผู้วิจัยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3.การพัฒนาทักษะพฤติกรรม ได้แก่ การสาธิตการเลือกอาหารที่เหมาะสม การฝึกปฏิบัติจัดเมนูอาหารการอ่านฉลากโภชนาการ และการสังเกตจากตัวแบบ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการตามปกติ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย, Independent sample’s t-test และPair sample’s t-test ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีความรู้เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง ความคาดหวังในผลดีจากการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพดีขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและดีขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า ของกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย โปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพและโรคเรื้อรังอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป