ผลของโปรแกรมการบริโภคอาหารประยุกต์แบบจําลองข่าวสารแรงจูงใจและทักษะพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานจังหวัดสมุทรปราการ
การวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการบริโภคอาหาร ประยุกต์แบบจำลอง ข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 25 คน กลุ่ม ทดลองได้รับโปรแกรมที่พัฒนา...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60616 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการบริโภคอาหาร ประยุกต์แบบจำลอง
ข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง
คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 25 คน กลุ่ม
ทดลองได้รับโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์แบบจำลอง ข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม และ
ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามระบบบริการปกติของโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล ระยะเวลาทดลอง 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample’s t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การรับรู้
ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลดี และพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้นมากกว่าก่อนการ
ทดลองและดีขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด
(FBS) ของกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และลดลงกว่ากลุ่ม
เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) สรุปว่าโปรแกรมสุขศึกษา มีประสิทธิผลในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการบริโภคอาหารและลดระดับน้ำตาลในเลือด ข้อเสนอแนะ โปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้
กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและควบคุมระดับน้ำตาล |
---|