การประเมินพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนงานโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อประเมินพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนงานโรงพยาบาลรัฐ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตามกรอบทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทฤษฎีการรับรู้ ความสามารถแห่งตนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประเมินพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ระดับการติด นิโคติน ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พิทยา สังข์แก้ว, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช, ศรัณญา เบญจกุล, นรีมาลย์ นีละไพจิตร, Pittaya Sangkaew, Mondha Kengganpanich, Tharadol Kengganpanich, Sarunya Benjakul, Nareemarn Neelapaichit
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60620
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อประเมินพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนงานโรงพยาบาลรัฐ แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตามกรอบทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทฤษฎีการรับรู้ ความสามารถแห่งตนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประเมินพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ระดับการติด นิโคติน ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการรับรู้ความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ในคนงานจำนวน 33 คน ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและนำเสนอเชิงพรรณนาและตารางแจกแจงความถี่ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 33 คน สูบบุหรี่ทุกคนเฉลี่ยวันละ 8.82 มวน/วัน อายุที่เริ่มสูบ เฉลี่ย 18.76 ปี สูบมานานเฉลี่ย 38 ปี และร้อยละ 94 ดื่มเหล้า/เบียร์ โดยจะสูบบุหรี่หลังรับประทาน อาหารมากที่สุด (ร้อยละ 81.8) เหตุผลที่สูบเพื่อคลายเครียด (ร้อยละ 42.4) ผู้สูบมีระดับการติดนิโคตินอยู่ ระดับต่ำ ร้อยละ 39.4 รองลงมาคือปานกลาง ร้อยละ 30.3 และสูง ร้อยละ 15.2 ระดับขั้นตอนการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ อยู่ในขั้นลังเลใจ/ชั่งใจ (Comtemplation) ร้อยละ 66.6 และยังไม่คิด จะเลิกบุหรี่แน่นอน (Precontemplation) ร้อยละ 18.2 ทุกระดับการติดนิโคตินส่วนใหญ่อยู่ในขั้นลังเลใจ/ ชั่งใจในการเลิกสูบร้อยละ 60-80 การรับรู้ความสามารถตนเองอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 63.7 และปานกลาง ร้อยละ 27.3 ผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ในขั้นไม่สนใจเลิกและขั้นลังเลใจ ส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้ความสามารถตนเอง ต่ำ สำหรับความคาดหวังในผลลัพธ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 66.7 และปานกลางร้อยละ 33.3 ผู้สูบ บุหรี่ที่มีการรับรู้ความสามารถตนเองในการเลิกบุหรี่ทั้งระดับต่ำ ปานกลางและสูง ล้วนมีความคาดหวังใน ผลลัพธ์ของการเลิกบุหรี่อยู่ในระดับสูงมากกว่าร้อยละ 60 ฉะนั้นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมช่วยเลิกบุหรี่ ควรประเมินขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสร้างการรับรู้ความสามารถตนเองให้สูงขึ้น