ปัจจัยทำนายความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของความปวดแรกรับ ณ ห้องฉุกเฉิน ความรุนแรงของการบาดเจ็บ การใช้สารเสพติด และภาวะโรคร่วม ต่อความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล รูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60624 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของความปวดแรกรับ ณ ห้องฉุกเฉิน ความรุนแรงของการบาดเจ็บ การใช้สารเสพติด และภาวะโรคร่วม ต่อความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉิน และหอผู้ป่วยศัลยกรรมของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ ในจังหวัดสระบุรีและลพบุรี จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินข้อมูลการบาดเจ็บและการรักษา แบบประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บ แบบประเมินการใช้สารเสพติด แบบประเมินภาวะโรคร่วม และแบบประเมินความปวดแบบย่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรุนแรงของความปวดก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 4.53, SD = 1.30) คะแนนการรบกวนของความปวดระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 5.42, SD = 1.52) ความปวดแรกรับ ณ ห้องฉุกเฉินระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 6.82, SD = 1.99) ความรุนแรงของการบาดเจ็บระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 12.46, SD = 4.84) มีการใช้สารเสพติดร้อยละ 55.30 มีภาวะโรคร่วมร้อยละ 18.80 ความรุนแรงของการบาดเจ็บและการใช้สารเสพติดสามารถทำนายความรุนแรงของความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (gif.latex?\beta = .373, p < .001, and gif.latex?\beta = .304, p < .001 ตามลำดับ) แต่ความปวดแรกรับ ณ ห้องฉุกเฉิน และภาวะโรคร่วมไม่สามารถทำนายได้
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความรุนแรงของการบาดเจ็บและการใช้สารเสพติดสามารถทำนายความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ดังนั้นพยาบาลควรตระหนักถึงความปวดเฉียบพลันและจัดการความปวดที่เหมาะสมในกลุ่มที่มีการบาดเจ็บรุนแรง และผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติด |
---|