การตรวจสุขภาพประจำปีของโรงพยาบาลเอกชน กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของระบบบริการตรวจสุขภาพต่อการเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพภายหลังการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้รับบริการ ณ ศูนย์สุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ระเบียบวิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การศึกษาเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ กลุ่มตัวอย่าง 194 คน ตอบ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เนตรระวี เพ็ชร์รัตน์, มลินี สมภพเจริญ, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช, Nedrawee Pedsharat, Maleenee Sompomjarean, Prasit Leerapan
Other Authors: Tharadol Kenggranpanich
Format: Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/61919
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของระบบบริการตรวจสุขภาพต่อการเรียนรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพภายหลังการตรวจสุขภาพประจำปีของผู้รับบริการ ณ ศูนย์สุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ระเบียบวิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การศึกษาเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ กลุ่มตัวอย่าง 194 คน ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง 3 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรกเป็นการตอบแบบสอบถามก่อนและ หลังพบแพทย์ในวันที่มาตรวจสุขภาพ และครั้งที่ 3 ตอบภายหลังการตรวจสุขภาพผ่านไป 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดย สัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับบริการ แพทย์ พยาบาลและผู้ช่วยแพทย์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจมาตรวจสุขภาพเนื่องจากอยากรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง มากที่สุด ร้อยละ 64.4 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวังเรื่องความน่าเชื่อถือของแพทย์และผู้ให้บริการสูงสุด เท่ากับ 4.59 คะแนน หลังการตรวจสุขภาพกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องสุขภาพ ความเข้าใจผลการ ตรวจ และความตระหนักในพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม สุขภาพไม่แตกต่างจากก่อนตรวจสุขภาพ การศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่าระบบบริการตรวจสุขภาพสามารถสร้างให้ เกิดความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักเกี่ยวกับสุขภาพได้ แต่ไม่สามารถส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้รับบริการเท่าที่ควร ศูนย์ให้บริการตรวจสุขภาพควรมีการวางแผนการให้สุขศึกษาและ ติดตามพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง โดยจัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สุขภาพอย่างเหมาะสมจนกว่าผู้รับบริการจะกลับมาตรวจสุขภาพในปีถัดไปเพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรง ของโรคที่สามารถป้องกันได้