แบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อฉบับภาษาไทย : การทดสอบคุณสมบัติทางจิตวิทยา

การศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลแบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อที่พัฒนาโดยบรู๊ค และบัลล็อคในปี ค.ศ.1999 จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และศึกษาความตรง และความเที่ยงของแบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อ ฉบับภาษาไทย การศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย การแปลแบบประ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุภาพ อารีเอื้อ, พิชญ์ประอร ยังเจริญ, Suparb Aree-Ue, Phichpraorn Youngcharoen
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/62036
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลแบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อที่พัฒนาโดยบรู๊ค และบัลล็อคในปี ค.ศ.1999 จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และศึกษาความตรง และความเที่ยงของแบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อ ฉบับภาษาไทย การศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ประกอบด้วย การแปลแบบประเมิน 6 Item Cognitive Impairment Test เป็นภาษาไทยด้วยวิธีการแปลย้อนกลับ และประเมินความตรงของเนื้อหาโดยคณะผู้เชี่ยวชาญทางผู้สูงอายุและการรู้คิดบกพร่องในผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 ประกอบด้วย การตรวจสอบความตรงตามสภาพ และการตรวจสอบความเที่ยงด้านความคงที่ของการวัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร 2 แห่ง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าจำานวน 100 ราย กลุ่มตัวอย่างได้รับการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมรรถภาพสมองฉบับย่อ Mini-Cog ฉบับภาษาไทย และแบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อฉบับภาษาไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้าเดิมตอบแบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด6 ข้อฉบับภาษาไทยซ้ำใน 2 สัปดาห์ จำนวน 50 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อฉบับภาษาไทยมีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งรายข้อ และในภาพรวม และมีความตรงตามสภาพ โดยคะแนนแบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อฉบับภาษาไทยมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับคะแนนแบบประเมินสมรรถภาพสมองฉบับย่อ Mini-Cog ฉบับภาษาไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทดสอบความเที่ยงด้านความคงที่ของการวัด ด้วยวิธีการทดสอบและการทดสอบซ้ำ คะแนนสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อฉบับภาษาไทยครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสรุป แบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อฉบับภาษาไทยเป็นเครื่องมือที่แสดงถึงความเที่ยง และความตรง ซึ่งสามารถนำไปใช้คัดกรองภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้นในผู้สูงอายุทั้งในชุมชน และนำไปใช้ในการวิจัยได้