ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร

การวิจัยเชิงพรรณาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมน้ำหนักตัว และปัจจัยทำนายการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นหญิง อายุระหว่าง 15-18 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมปีที่ 4-6 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทนวงศึกษาธิการในเข...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: มนชยา สมจริต, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล, อาภาพร เผ่าวัฒนา, Monchaya Somjarit, Kwanjai Amnatsatsue, Patcharapom Kerdmongkol, Arpaporn Powwattana, Siriprapa Klunklin
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/62208
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงพรรณาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมน้ำหนักตัว และปัจจัยทำนายการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นหญิง อายุระหว่าง 15-18 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมปีที่ 4-6 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทนวงศึกษาธิการในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 161 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบชั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนหญิงส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวอยู่ในระดับปานกลาง (มีช่วงคะแนน 70-76 คะแนน จากช่วงคะแนนของแบบสอบถามทั้งหมด 23-92 คะแนน) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลาย คือ การรับรู้สภาวะสุขภาพ ภาวะซึมเศร้า สัมพันธภาพในครอบครัวของบิดาและมารดากับนักเรียนหญิง ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมน้ำหนักตัว และการรับรู้ปัจจัยเอื้อด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ ปัจจัยที่สามารถทำนายการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิง คือ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมน้ำหนักตัว สัมพันธภาพในครอบครัวของบิดากับนักเรียนหญิง การรับรู้ปัจจัยเอื้อด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวของนักเรียนหญิงมัธยมปลาย ในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 18 ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพให้นักเรียนหญิงมีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมน้ำหนักตัวที่เหมาะสม เน้นการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว การสร้างนโยบายการมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนหญิงมัธยมปลายในโรงเรียนและชุมชน บุคลการในโรงเรียนและพยาบาลประจำในโรงเรียนควรมีการเฝ้าระวังพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะนักเรียนหญิงที่มีปัญหาครอบครัว หรือมีภาวะซึมเศร้า