ประสิทธิผลการดำเนินงานควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกของสถานีอนามัย ในจังหวัดนนทบุรี
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดนนทบุรีเนื่องจากมีอัตราป่วยสูงเป็นอันดับ 1 ในพื้นที่สาธารณสุขเขต 1 การวิจัยเชิงอรรถาธิบายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงาน ควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกของสถานีอนามัยในจังหวัดนนทบุรี ประชากรที่ใช้ ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2021
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63104 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดนนทบุรีเนื่องจากมีอัตราป่วยสูงเป็นอันดับ
1 ในพื้นที่สาธารณสุขเขต 1 การวิจัยเชิงอรรถาธิบายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงาน
ควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออกของสถานีอนามัยในจังหวัดนนทบุรี ประชากรที่ใช้ ในการศึกษา คือ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่รับผิดชอบงานควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออก โดยเป็นตัวแทนของ
สถานีอนามัยในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 75 แห่ง ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบกรอกรายการด้วยตนเอง
แบบสอบถามตอบกลับสมบูรณ์ร้อยละ 100 จากการศึกษาพบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่
รับผิดชอบงาน ร้อยละ 50.7 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 40.3 ปี เกือบทั้งหมด (ร้อยละ 90.6) จบการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี ระยะเวลารับผิดชอบงานเฉลี่ย 9.1 ปี มีจำนวนหมู่บ้านในความรับผิดชอบเฉลี่ย 4.6 หมู่บ้าน
มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบเฉลี่ย 7.0 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบ
ไคสแควร์ และ t-test
ผลการศึกษา พบว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลที่รับผิดชอบงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 53.4) มี
ความรู้เกี่ยวกับมาตรการควบคุมพาหะนำโรคในระดับพอใช้ สถานีอนามัยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66.7)
มีประสิทธิผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดี เมื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
กับประสิทธิผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) คือ เพศ ระยะเวลาที่รับผิดชอบงาน
และการมีส่วนร่วมของชุมชน |
---|