การมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย จังหวัดสุพรรณบุรี

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการควบคุมลูกน้ำยุงลายของแกนนำครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบล บ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 66 คน ได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กิจกรรมเริ่มจากก...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กรุณภรณ์ หมวกกุล, นิรัตน์ อิมามี, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุภาวดี บุญชื่น, Karunaphon Maugkul, Nirat Imamee, Manirat Therawiwat, Supawadee Boonchuen
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63212
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการควบคุมลูกน้ำยุงลายของแกนนำครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบล บ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 66 คน ได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กิจกรรมเริ่มจากการสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการควบคุมลูกน้ำ ยุงลาย สร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยงและการรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความสามารถตนเอง ในการควบคุมลูกน้ำยุงลายและพฤติกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลาย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ก่อนและหลังการทดลอง นำมาวิเคราะห์หา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ทดสอบสถิติด้วย Paired Samples t – test และ Z - test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและ การควบคุมลูกน้ำยุงลาย การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรงของการเกิด โรคไข้เลือดออก และการรับรู้ความสามารถตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผล การวิจัยแสดงให้เห็นว่า การจัดโปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย มีส่วนช่วย ส่งเสริมให้แกนนำครัวเรือนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ข้อเสนอแนะจากการวิจัย โปรแกรมการมีส่วนร่วมของชุมชนนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุม ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่อื่นที่มีลักษณะสภาพความเป็นอยู่ที่คล้ายกัน โดยการควบคุมลูกน้ำยุงลายควรเน้น ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง และหน่วยงานสาธารณสุข อบต. หรือ เทศบาล ตำบล ควรมีระบบสนับสนุนให้ชุมชนดำเนินการควบคุมลูกน้ำยุงลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ