ทัศนคติ และแรงจูงใจในการทำงานด้านสุขภาพจิตนักศึกษาของผู้เข้าร่วมโครงการมหิดลเฟรนด์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน นักศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว เป็นจำนวนมาก โรคที่พบบ่อย เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ปัญหาการใช้สารเสพติด ระบบการดูแล สุขภาพจิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยส่วนใหญ่เป็น รูปแบบของศูนย์ให้คำปรึกษา ซึ่งนักศึกษาใช้บริการ น้อยกว่าปัญหาจริงที่ม...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข, พัชรินทร์ เสรี, แกมแก้ว โบษกรนัฏ, Somboon Hataiyusuk, Patcharin Seree, Kamkaew Bosagaranut
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63660
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน นักศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว เป็นจำนวนมาก โรคที่พบบ่อย เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ปัญหาการใช้สารเสพติด ระบบการดูแล สุขภาพจิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยส่วนใหญ่เป็น รูปแบบของศูนย์ให้คำปรึกษา ซึ่งนักศึกษาใช้บริการ น้อยกว่าปัญหาจริงที่มีอยู่ เนื่องจากปัจจัยด้านการตีตรา เวลารอรับบริการ และความไม่สะดวกสบายต่างๆ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงจัดโครงการมหิดลเฟรนด์ ให้กับนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน เพื่อให้ความรู้สุขภาพจิต ฝึกทักษะการให้คำปรึกษา และแนวทางการส่งต่อ โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการ สังเกต ช่วยเหลือ นักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้ อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้ทำการศึกษาทัศนคติและ แรงจูงใจในการทำงานด้านสุขภาพจิตของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้าร่วมโครงการมหิดลเฟรนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2562 แบ่งเป็น นักศึกษาจำนวน 39 คน และอาจารย์หรือเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน จำนวน 64 คน โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติในการทำงานดูแลสุขภาพใจ นักศึกษา และแบบสอบถามแรงจูงใจในการทำงานดูแล สุขภาพใจนักศึกษา (ฉบับนักศึกษา), (ฉบับอาจารย์/ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน) ผลการศึกษาพบว่าทัศนคติ ในการทำงานด้านสุขภาพจิตนักศึกษาของนักศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean 3.34, SD 0.32) ส่วนอาจารย์/เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนอยู่ในระดับมาก (Mean 3.15, SD 0.32) แรงจูงใจในการทำงาน ด้านสุขภาพจิตนักศึกษาของนักศึกษาและอาจารย์/ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนอยู่ในระดับมาก (Mean 3.10, SD 0.29 และ Mean 3.03, SD 0.36 ตามลำดับ) ทัศนคติกับแรงจูงใจในการทำงานด้านสุขภาพจิต นักศึกษาของนักศึกษา และอาจารย์/เจ้าหน้าที่สาย สนับสนุน มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกระดับ ปานกลาง (r = 0.563, p < 0.001) (r = 0.670, p < 0.001) ควรคำนึงถึงปัจจัยทัศนคติและแรงจูงใจ ของผู้เข้าร่วมในทุกกลุ่มเพื่อพัฒนาระบบดูแลและ ช่วยเหลือนักศึกษาด้านสุขภาพจิตให้เกิดระบบที่ยั่งยืน ต่อไป