โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการ: ลดหวาน มัน เค็ม ประยุกต์การกํากับตนเองและแรงสนับสนุนจากครอบครัวในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ส่งเสริมโภชนาการ: ลดหวาน มัน เค็ม ประยุกต์ การกำกับตนเอง และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศึกษาแบบกลุ่มทดลอง กลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุระหว่าง 35-70 ปี จำนวน 30 คน ซึ่งได...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Original Article |
Language: | Thai |
Published: |
2021
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63712 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม
ส่งเสริมโภชนาการ: ลดหวาน มัน เค็ม ประยุกต์
การกำกับตนเอง และแรงสนับสนุนจากครอบครัว
ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศึกษาแบบกลุ่มทดลอง
กลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง
คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุระหว่าง 35-70 ปี
จำนวน 30 คน ซึ่งได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา
12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรม
การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม แบบประเมินความรู้
เกี่ยวกับโรค ภาวะแทรกซ้อน และอาหารสำหรับผู้ป่วย
เบาหวาน และแบบบันทึกอาหารบริโภคประจำวัน
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired T-test
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง
มีค่าเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน
มัน เค็ม ดีขึ้นมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำตาล น้ำมัน
เกลือบริโภคต่อวัน ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร
และดัชนีมวลกายลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ (p<0.05) การจัดโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการ:
ลดหวาน มัน เค็ม ประยุกต์การกำกับตนเอง และ
แรงสนับสนุนจากครอบครัว มีผลทำให้ผู้ป่วยโรค
เบาหวานชนิดที่ 2 มีพฤติกรรมการบริโภภคอาหารที่ดีขึ้น
ดังนั้นโปรแกรมนี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ
เรื้อรังประเภทอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน เพื่อนำไปสู่
การมีคุณภาพชีวิตที่ดี |
---|