ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตบริการสุขภาพที่ 5

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ประสิทธิผลการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำาบลในเขตบริการสุขภาพ (รพ.สต.) ที่ 5 โดยปัจจัย ที่ศึกษา ได้แก่ การรับรู้ความสามารถในตนเองและ การจัดการแบบมีส่ว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กษิรา โพรามาต, ภูษิตา อินทรประสงค์, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, จุฑาธิป ศีลบุตร, Kasira Poramat, Bhusita Intraprasong, Youwanuch Sattayasomboon, Jutatip Sillabutra
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63742
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ประสิทธิผลการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการ เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำาบลในเขตบริการสุขภาพ (รพ.สต.) ที่ 5 โดยปัจจัย ที่ศึกษา ได้แก่ การรับรู้ความสามารถในตนเองและ การจัดการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลด้วยการใช้ แบบสอบถามกับบุคลากรที่รับผิดชอบงานพัฒนาการ เด็กของ รพ.สต. จำานวน 398 คน ได้รับแบบสอบถาม ตอบกลับและมีความสมบูรณ์พร้อมวิเคราะห์ จำานวน 301 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า รพ.สต.มีประสทิ ธผิ ลฯอยู่ในระดับมาก บุคลากร ของรพ.สต.มีระดับการรับรู้ความสามารถในตนเอง และการจัดการแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก การรับรู้ ความสามารถและการจัดการแบบมีส่วนร่วมในตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลฯ (r = 0.169, และ r = 0.56 ตามลำาดับ) มีความสัมพันธ์ทางบวก กับประสิทธิผลฯ การรับรู้ความสามารถในตนเองและ การจัดการแบบมีส่วนร่วมสามารถร่วมกันอธิบาย ความผันแปรของประสิทธิผลฯ ได้ร้อยละ 32.0 (Adjusted R2 = 0.320, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารควรกำาหนดนโยบายการเสริมสร้างประสบการณ์ ในการตัดสินใจ และการเสริมสร้างระบบที่ปรึกษา ด้านวิชาการสู่การปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรเขตบริการ สุขภาพที่ 5 ปฏิบัติงานพัฒนาการเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนางานให้เกิดคุณภาพยิ่งขึ้น