การประเมินความพึงพอใจของผู้ส่งผลงานและประสิทธิภาพของเว็บไซต์มหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ส่งผลงานร่วมกับประสิทธิภาพของเว็บไซต์มหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดลประจำปี 2563 โดยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ประชากรเป็นผู้ส่งผลงานเข้าร่วมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2563 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63956 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ส่งผลงานร่วมกับประสิทธิภาพของเว็บไซต์มหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดลประจำปี 2563 โดยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ประชากรเป็นผู้ส่งผลงานเข้าร่วมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2563 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเองโดยมี 3 ส่วน คือ ส่วนข้อมูลทั่วไป ส่วนความพึงพอใจในการจัดส่งผลงาน และส่วนข้อเสนอแนะอื่น ๆ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test และ ANOVA ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิด้วยเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์โดย Google Analytics, Google Lighthouse และ Google PageSpeed Insights ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 82.42) อายุ 24 – 39 ปี (ร้อยละ 59.89) อายุงานมากกว่า 10 ปี (ร้อยละ 61.54) เป็นบุคลากรสายสนับสนุน (ร้อยละ 59.34) และส่งผลงานเป็นครั้งแรก (ร้อยละ 58.79) มีความพึงพอใจในการจัดส่งผลงานมากที่สุด ( ̅ = 4.43, S.D. = 0.74) โดยคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการใช้งานแบบฟอร์มนำเสนอผลงาน ̅ = 4.48, S.D. = 0.68) ด้านระบบจัดส่งผลงาน ( ̅ = 4.47, S.D. = 0.75) ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ ( ̅ = 4.44, S.D. = 0.75) ด้านการประชาสัมพันธ์กิจกรรม ( ̅ = 4.39, S.D. = 0.71) และด้านการใช้งานเว็บไซต์ ( ̅ = 4.37, S.D. = 0.80 ตามลำดับ ปัจจัยด้านเพศ (p = 0.025) และประเภทบุคลากร (p = 0.001) มีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมในการจัดส่งผลงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ประสิทธิภาพเว็บไซต์ตามมาตรฐานเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้ (Core Web Vitals) ด้านระยะเวลาการรอการทำงานโดยรวม (Total Blocking Time, TBT) อยู่ในระดับดี ด้านความเร็วในการโหลดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (Largest Contentful Paint, LCP) และความเสถียรของการจัดวางเค้าโครงเว็บไซต์ (Cumulative Layout Shift, CLS) อยู่ในระดับควรปรับปรุง |
---|