อิทธิพลของอายุ ความรู้ ความเชื่อ การสนับสนุน และการเข้าถึงบริการ ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอดชาวเขา

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของ อายุ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความเชื่อทางวัฒนธรรม การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเข้าถึงบริการ ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอดชาวเขา รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทํานาย วิธีดำเนินการวิจัย:...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ปภาวรินทร์ วังดี, วรรณา พาหุวัฒนกร, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, Paparwarin Wangdi, Wanna Phahuwatnakorn, Piyanun Limruangrong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64415
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของ อายุ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความเชื่อทางวัฒนธรรม การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเข้าถึงบริการ ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอดชาวเขา รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทํานาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดชาวเขาที่รับการตรวจหลังคลอด ณ โรงพยาบาลอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และโรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 177 ราย โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามความเชื่อทางวัฒนธรรม แบบสอบถามการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการเข้าถึงบริการ และแบบสัมภาษณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณาและสถิติถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่าอายุ ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความเชื่อทางวัฒนธรรม การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเข้าถึงบริการ สามารถร่วมกันทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอดชาวเขาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 9 (p < .05, Nagelkerke R2 = .09) โดยการเข้าถึงบริการเป็นเพียงตัวแปรเดียวที่สามารถทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอดชาวเขาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Exp(B) = 4.60, 95%CI = 1.07, 19.83, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: การเข้าถึงบริการช่วยให้มารดาหลังคลอดชาวเขาประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ดังนั้นพยาบาลผดุงครรภ์ควรเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้มารดาหลังคลอดชาวเขาที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถเข้าปรึกษาปัญหาได้และให้คำแนะนำและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาหลังคลอดชาวเขา