ปัญหาบริการสุขภาพและการประเมินความต้องการการดูแลสุขภาพทางไกลสำหรับการล้างไตทางช่องท้อง

วิธีดำเนินการวิจัย: ระยะแรกศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัญหาบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง และความต้องการการดูแลสุขภาพทางไกลในผู้ป่วย/ผู้ดูแล จำนวน 200 คน และบุคลากรสุขภาพจำนวน 28 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามปัญหาบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยล้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นาตยา รัตนอัมภา, อรวมน ศรียุกตศุทธ, ปิยะธิดา จึงสมาน, Nattaya Rattana-umpa, Aurawamon Sriyuktasuth, Piyatida Jeungsmarn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64421
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วิธีดำเนินการวิจัย: ระยะแรกศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัญหาบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง และความต้องการการดูแลสุขภาพทางไกลในผู้ป่วย/ผู้ดูแล จำนวน 200 คน และบุคลากรสุขภาพจำนวน 28 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามปัญหาบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง และ 3) แบบสอบถามความต้องการบริการสุขภาพทางไกล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในระยะที่สองผู้วิจัยดำเนินการสนทนากลุ่มในกลุ่มผู้ป่วย กลุ่มผู้ดูแล และกลุ่มทีมสหวิชาชีพเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมาสนับสนุนข้อมูลที่ได้จากในระยะแรก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย/ผู้ดูแลระบุปัญหาเกี่ยวกับการบริการสุขภาพในระดับปานกลาง และมีความต้องการใช้บริการดูแลสุขภาพทางไกลโดยรวมในระดับมาก ส่วนกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสุขภาพระบุปัญหาการให้บริการและความต้องการให้บริการสุขภาพทางไกลในระดับมาก รูปแบบการดูแลที่ได้รับการเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย แหล่งข้อมูลความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการล้างไตและการดูแลตนเอง ช่องทางการติดต่อสื่อสารกันในรูปแบบต่างๆ การแจ้งเตือนความผิดปกติและแจ้งเตือนการตรวจรักษา การติดตามน้ำยาล้างไต การบันทึกและติดตามข้อมูลสุขภาพและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการล้างไต สรุปและข้อเสนอแนะ: การจัดบริการสุขภาพแก่กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องของประเทศไทยในปัจจุบันยังเป็นประเด็นท้าท้ายต่อการจัดการปัญหาสุขภาพของประเทศ การพัฒนาบริการสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการและผลลัพธ์ทางสุขภาพในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้มากขึ้น