ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจทำนายของการรับรู้ความรุนแรงของโรค อุปสรรคในการรับการรักษา ความซับซ้อนของการใช้ยา และความรู้ด้านการรับประทานยาต่อความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ชาคริญาณ์ บุญเกื้อ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์, ฉัตรกนก ทุมวิภาต, Chakariya Boonkua, Doungrut Wattanakitkrileart, Sarinrut Sriprasong, Chatkanok Dumavibhat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64824
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจทำนายของการรับรู้ความรุนแรงของโรค อุปสรรคในการรับการรักษา ความซับซ้อนของการใช้ยา และความรู้ด้านการรับประทานยาต่อความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจมาอย่างน้อย 1 เดือน มีแผนการรักษาใช้ยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 134 ราย เก็บข้อมูล ณ หน่วยตรวจโรคหัวใจและโรคอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามอุปสรรคในการรับการรักษา แบบประเมินความซับซ้อนของการใช้ยา และแบบสอบถามความรู้ด้านการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 77.6 อายุเฉลี่ย 60.9 ปี (SD = 12.8) รับประทานยาแอสไพรินร่วมกับบิลินต้าหรือทิคากิลอ ร้อยละ 56.7 และยาแอสไพรินร่วมกับอะโพเล็ทหรือพลาวิกหรือโคลพิโดเกรล ร้อยละ 43.3 มีความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดระดับมาก ร้อยละ 74.6 การรับรู้ความรุนแรงของโรค อุปสรรคในการรับการรักษา ความซับซ้อนของการใช้ยา และความรู้ด้านการรับประทานยาสามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 13.1 การรับรู้ความรุนแรงของโรคระดับมาก และความรู้ด้านการรับประทานยาระดับดี สามารถทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = .37, 95%CI [.15, .92], p = .034; OR = 3.82, 95%CI [1.07, 13.58], p = .038 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: การรับรู้ความรุนแรงของโรคระดับมาก และความรู้ด้านการรับประทานยาระดับดีมีผลต่อความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิด พยาบาลควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และให้ความรู้ด้านการรับประทานยาต้านเกล็ดเลือดสองชนิด เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการรับประทานยา