ปัจจัยทำนายความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของรูปแบบบริการการฟื้นฟู การสนับสนุนการจัดการตนเอง รายได้ และภาวะโภชนาการต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 ราย เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นันตพร ทองเต็ม, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, ศรัณยา โฆสิตะมงคล, Nuntabhorn Tongtem, Wimolrat Puwarawuttipanit, Sarunya Koositamongkol
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64827
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของรูปแบบบริการการฟื้นฟู การสนับสนุนการจัดการตนเอง รายได้ และภาวะโภชนาการต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 ราย เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตันที่มารับการติดตามการรักษาหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ที่คลินิกอายุรกรรมระบบประสาท แผนกผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลสองแห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน แบบสอบถามการสนับสนุนการจัดการตนเองและแบบประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิตถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 81.59, SD = 21.81) ภายหลังได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างได้รับรูปแบบบริการการฟื้นฟู แบบผู้ป่วยนอกมากที่สุด (ร้อยละ 38.1) ได้รับการสนับสนุนการจัดการตนเองในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.13, SD = 0.73) และมีภาวะทุพโภชนาการปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 9.24, SD = 3.30) ปัจจัยที่ศึกษาทุกตัวร่วมอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันได้ร้อยละ 64 (R2 = .64) โดยปัจจัยด้านรูปแบบบริการการฟื้นฟู การสนับสนุนการจัดการตนเองและภาวะโภชนาการ เป็นปัจจัยทำนายอย่างมีนัยสำคัญ สรุปและข้อเสนอแนะ: รูปแบบบริการการฟื้นฟู การสนับสนุนการจัดการตนเองและภาวะโภชนาการสามารถทำนายความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ ดังนั้นทีมสุขภาพควรมีการส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับรูปแบบบริการการฟื้นฟูแต่ละรูปแบบอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกลับบ้าน ร่วมกับให้การสนับสนุนการจัดการตนเอง โดยเน้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการรักษากับทีมสุขภาพ และส่งเสริมภาวะโภชนาการโดยการคัดกรองและประเมินผู้ป่วยตั้งแต่รับการรักษาและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น