การพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเรื้อรัง จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าไปสู่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเรื้อรัง ระหว่างโรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้าไปสู่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวคิดและ กระบวนการพัฒนา ที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ (1) การวิเคราะห์ระบบการส่งต่อที่มีอยู่ของโรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า และศูนย์บริการสาธารณสุข (...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/71598 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเรื้อรัง ระหว่างโรงพยาบาล
พระมงกุฎเกล้าไปสู่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวคิดและ
กระบวนการพัฒนา ที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ (1) การวิเคราะห์ระบบการส่งต่อที่มีอยู่ของโรงพยาบาล
พระมงกุฎเกล้า และศูนย์บริการสาธารณสุข (2) การประเมินความเป็นไปได้และเงื่อนไข ในการพัฒนา
รูปแบบการส่งต่อ ซึ่งเป็นความพร้อมด้านนโยบาย โครงสร้างและระบบ การบริหารจัดการ และความ
พร้อมด้านทรัพยากรโดยเฉพาะบุคลากร (3) การยกร่างรูปแบบการส่งต่อ ผลการดำเนินงาน
ตามขั้นตอนที่1และ 2 ใช้เป็นบทเรียนและกรอบความคิดในการยกร่างรูปแบบการส่งต่อ (4) การ
ประเมินร่างรูปแบบการส่งต่อ โดยบุคคล 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติและนักวิชาการ เพื่อได้ข้อคิด
และข้อเสนอแนะ การพัฒนารูปแบบการส่งต่อที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยเรื้อรัง ระหว่างโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
และศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร มีความจำเป็นที่ต้องทำเพื่อให้สอดคล้อง
กับปัญหาและทิศทางการพัฒนาและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง
และหน่วยบริการสุขภาพทั้งสองแห่งก็มีความพร้อมที่จะปฏิบัติร่วมกัน ทั้งในเชิงนโยบาย บุคลากร
และการบริหารจัดการ รูปแบบการส่งต่อที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ ด้าน
โครงสร้างและระบบการส่งต่อ ที่ต้องจัดตั้งหน่วยงานในสถานบริการขึ้นใหม่ เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน
และดำเนินการ ด้านการเตรียมของบุคลากรที่ต้องเสริมแนวคิดและเทคนิค วิธีปฏิบัติ และสุดท้าย คือ
ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและโครงการปฏิบัติการทั้งหมด ซึ่งการปฏิบัติการนอกเหนือจากการ
ส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังแล้ว โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและศูนย์บริการสาธารณสุขยังร่วมมือกัน
ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านระบบการส่งต่อที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติต่างเห็นด้วยและ
ต้องการให้นำไปสู่การปฏิบัติการจริง ผลการศึกษาเรื่องนี้เป็นประโยชน์โดยตรงต่อโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในการจัดตั้งระบบการ
ส่งต่อผู้ป่วยเรื้อรังตามรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อปฏิบัติการให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและเพิ่ม
ประสิทธิภาพของโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแบบอย่างความ
ร่วมมือและช่วยเหลือกัน เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่ในครอบครัว และสังคมได้อย่างมีคุณภาพชีวิต |
---|