พฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองของประชาชนในตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองของประชาชน ในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เพื่อทดสอบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง และเพื่อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: จรินทร์พร จุนเกียรติ, คนางค์ คันธมธุรพจน์
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72022
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองของประชาชน ในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เพื่อทดสอบความแตกต่างของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง และเพื่อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ผู้วิจัยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 ตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองในพื้นที่หาดท้ายเหมืองจำนวน 4 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร สำหรับการวัดการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสถิติ t-test และความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA และ เปรียบเทียบแบบรายคู่โดยใช้ LSD หรือ Fisher’s Least – Significant Different ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 26.94 สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง พบว่า อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพครอบครัว อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ ประสบการณ์ในการร่วมกิจกรรม ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง และทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้วิจัยเสนอให้ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเต่ามะเฟืองให้สาธารณชนได้รับรู้ในวงกว้างผ่านทาง สื่อวิทยุ โทรทัศน์และสื่อออนไลน์ เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า สื่อวิทยุ โทรทัศน์และสื่อออนไลน์ เป็นช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการอนุรักษ์ที่มากที่สุด 2) ภาครัฐควรสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจบริเวณริมชายหาด ซึ่งเป็นสถานที่วางไข่ของแม่เต่ามะเฟือง เพื่อสร้างการตระหนักรู้ และขอความร่วมมือในการดูแลชายหาดและแสงไฟที่ส่งผลต่อการวางไข่ของเต่ามะเฟืองในช่วงระยะเวลาฤดูวางไข่