การอ้างถึงวรรณคดี นิทานไทยในนิราศสมัยใหม่: การสืบสานและการสร้างสรรค์

การอ้างถึง (allusion) วรรณคดี นิทานไทย มีความสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างสรรค์วรรณกรรมไทยโดยเฉพาะวรรณกรรมประเภทนิราศมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน กวีใช้การอ้างถึงเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสื่อสารและสร้างอารมณ์สะเทือนใจ ขยายขอบเขตเนื้อหา ตลอดจนเชื่อมโยงประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้เขียนกับผู...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: พรเทพ โตชยางกูร
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72040
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การอ้างถึง (allusion) วรรณคดี นิทานไทย มีความสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างสรรค์วรรณกรรมไทยโดยเฉพาะวรรณกรรมประเภทนิราศมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน กวีใช้การอ้างถึงเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการสื่อสารและสร้างอารมณ์สะเทือนใจ ขยายขอบเขตเนื้อหา ตลอดจนเชื่อมโยงประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านที่นอกจากจะทำให้งานเขียนมีความลึกซึ้งแล้ว ยังเป็นการแสดงภูมิปัญญาและความรอบรู้ของทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน ตลอดจนความแพร่หลายของวรรณคดีและนิทานเรื่องที่กวีอ้างถึงด้วย นิราศโบราณนิยมอ้างถึงเหตุการณ์พลัดพรากของตัวละครในวรรณคดี หรือนิทานเรื่องอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงความโหยหาความรักเและเน้นย้ำปริมาณความทุกข์โศกของกวีที่มีมากกว่าตัวละครเหล่านั้น จากการศึกษานิราศสมัยใหม่จำนวน 4 เรื่อง คือ ลำนำภูกระดึง ของอังคาร กัลยาณพงศ์ หมายเหตุร่วมสมัย ของไพบูลย์ วงษ์เทศ กลอนกล่อมโลก ของไพวรินทร์ ขาวงาม และโคลงนิราศแม่เมาะ ของก้องภพ รื่นศิริ พบว่านิราศสมัยใหม่จะอ้างถึง ตัวละคร เหตุการณ์ ฉากและสารสำคัญ ตลอดจนสำนวนโวหารและความเปรียบของเรื่องอื่น ๆ ข้อน่าสังเกตคือ เนื้อหาและจุดประสงค์ของการอ้างถึงวรรณคดี นิทานไทยในนิราศสมัยใหม่จะแตกต่างและหลากหลายกว่านิราศโบราณ เพราะกวีจะอ้างถึงตัวบท เรื่องราวอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพลัดพรากของตัวละคร เพื่อขยายความและขอบเขตเนื้อหานิราศ ตลอดจนแบ่งปันประสบการณ์ร่วม สร้างอารมณ์ร่วม อันมีบทบาทสำคัญในการสื่อสาร แสดงทัศนะและวิพากษ์วิจารณ์สังคมของกวี กล่าวได้ว่านิราศสมัยใหม่ได้สืบสานกลวิธีการอ้างถึงนี้จากนิราศโบราณมาสร้างสรรค์ให้สอดรับกับจุดประสงค์และพันธกิจแห่งกวีนิพนธ์สมัยใหม่