การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้แผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้แผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม กรอบแนวคิดการวิจัยใช้แนวคิดการประเมินคุณภาพระบบบริการของโดนาบิเดียน และพัฒนาแผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวตามรูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลตาม...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72062 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้แผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนครพนม กรอบแนวคิดการวิจัยใช้แนวคิดการประเมินคุณภาพระบบบริการของโดนาบิเดียน และพัฒนาแผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวตามรูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยอายุรกรรมจำนวน 18 คน และ 8 คนจากกลุ่มงานเวชกรรมสังคม งานเยี่ยมบ้าน โรงพยาบาลนครพนม ดำเนินการวิจัยโดยให้พยาบาลกลุ่มตัวอย่างนำแผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวไปใช้ ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจนถึงติดตามต่อเนื่องเมื่อกลับบ้าน เป็นระยะเวลา 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามความเป็นไปได้ของแผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นรายข้อ แบบสอบถามความเป็นไปได้ของการนำแผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวไปใช้ภาพรวม และ แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลส่วนใหญ่เห็นว่าแผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว แต่พยาบาลหน่วยเวชกรรมสังคมเพียงร้อยละ 25 เห็นว่าสามารถการติดตามผู้ป่วยทางโทรศัพท์ตามแผนการพยาบาลได้ พยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แผนการพยาบาลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระดับมากที่สุด จากการวิจัยครั้งนี้ควรมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่ต้องติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารโรงพยาบาลควรสนับสนุนให้มีการทำงานประสานงานของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้มีการดูแลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวต่อเนื่อง และจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวแก่พยาบาล |
---|