ผลของโปรแกรมควบคุมการชักผ่านแอปพลิเคชันไลน์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคลมชัก
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมควบคุมการชักซึ่งเป็นโปรแกรมให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยโรคลมชักผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคลมชักเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดอาการชักซ้ำ ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีมและการทบทวนวรรณกร...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72081 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมควบคุมการชักซึ่งเป็นโปรแกรมให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยโรคลมชักผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคลมชักเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดอาการชักซ้ำ ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีมและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคลมชักที่มารับการรักษาที่่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกอายุรกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลระยอง จำนวน 18 ราย โปรแกรมควบคุมการชัก ประกอบด้วยชุุดการศึกษาเกี่่ยวกับโรคลมชักและชุดการฝึกปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพส่งให้แก่กลุ่มตัวอย่างผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ มีระยะเวลาการทดลอง 6 สัปดาห์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามในการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลข้อมูลสุขภาพความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ผู้วิจัยประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 3 ครั้ง คือ ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมหลังสิ้นสุดโปรแกรมทันที (สัปดาห์ที่ 6 จากเริ่มต้น) และหลังสิ้นสุดโปรแกรม 4 สัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 10) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Repeated-measures ANOVA ผลการวิจัย พบว่าระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และระดับพฤติกรรมสุขภาพเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมทันที และ 4 สัปดาห์หลังสิ้นสุดโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมควบคุมการชักซึ่งเป็นโปรแกรมการสอนผู้ป่วยผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ สามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอาจมีข้อจำกัดในการสรุปว่าผลลัพธ์เกิดจากโปรแกรมเท่านั้นเนื่องจากไม่มีกลุ่มควบคุม แต่คาดว่าผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรในทีมสุขภาพสามารถประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันไลน์ เพื่อเป็นสื่อในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคลมชักในการป้องกันการชักซ้ำได้ |
---|