การพัฒนาแบบประเมินอาหารบริโภคด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดระบบทางเดินอาหารก่อนหรือหลังการผ่าตัด

ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการทั้งก่อนหรือหลังการผ่าตัด แบบประเมินการรับประทานอาหารเดิมอาจไม่สามารถใช้ตรวจพบปัญหาทางโภชนาการเบื้องต้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อพัฒนาแบบประเมินอาหารบริโภคด้วยตนเอง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยมีขั้นตอนดังนี้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: จันทร์จิรา โพธิ์สัตย์, ศุภาณัฐ สุนทรนนท์, วัลภา ส่วนแสวง, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, มธุรส ทิพยมงคลกุล, ธีราพร ชมภูแสง, Chanchira Phosat, Supanat Soontornnon, Wanlapa Suansawangn, Warapone Satheannoppakao, Mathuros Tipayamongkholgul, Teeraporn Chompooseanglgul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาโภชนวิทยา
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72104
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัด เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการทั้งก่อนหรือหลังการผ่าตัด แบบประเมินการรับประทานอาหารเดิมอาจไม่สามารถใช้ตรวจพบปัญหาทางโภชนาการเบื้องต้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อพัฒนาแบบประเมินอาหารบริโภคด้วยตนเอง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยมีขั้นตอนดังนี้ ประเมินแบบประเมินอาหารที่ใช้ฉบับเดิม ทบทวนวรรณกรรม พัฒนาแบบการประเมินอาหารบริโภคด้วยตนเองจำนวน 2 แบบ จัดสนทนากลุ่ม เพื่ออภิปรายและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแบบประเมินที่พัฒนาขึ้น ปรับเพื่อให้ได้เพียง 1 ต้นแบบ และประเมินโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วย 3 คน พยาบาล 8 คน และนักโภชนาการ 4 คนเข้าร่วมการสนทนากลุ่ม ประเด็นที่แนะนำให้ปรับปรุงคือ เพิ่มการใช้ภาพสื่อความหมาย ลดการใช้คำศัพท์เฉพาะและลดรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ทำเครื่องหมายที่รูปเพื่อบอกปริมาณอาหารที่รับประทาน ชุดเครื่องมือประกอบด้วยแบบประเมินอาหารบริโภคด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยและคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ และให้คงสัญลักษณ์ไฟจราจรเพื่อประเมินความเพียงพอในการบริโภค คณะผู้วิจัยได้ปรับปรุงเพื่อทำเป็นต้นแบบเดียว และได้ทำการประเมิน พบว่า มากกว่าร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับแบบประเมินอาหารบริโภคด้วยตนเองฉบับปรับปรุงทั้ง 6 ด้าน อย่างไรก็ตาม ควรนำแบบประเมินนี้ไปทดสอบความตรงในผู้ป่วยในก่อนนำไปใช้จริง