การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่จำกัดของผู้สูงอายุไทย: ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560

ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึง กิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ผู้สูงอายุปฏิบัติโดยไม่ต้องการอุปกรณ์ หรือผู้ช่วยเหลือ มีความสำคัญต่อการระบุความต้องการความช่วยเหลือ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การวิจัยทุติยภูมิครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อลงกรณ์ เปกาลี, ภรณี วัฒนสมบูรณ์
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72149
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึง กิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ผู้สูงอายุปฏิบัติโดยไม่ต้องการอุปกรณ์ หรือผู้ช่วยเหลือ มีความสำคัญต่อการระบุความต้องการความช่วยเหลือ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การวิจัยทุติยภูมิครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่จำกัดของผู้สูงอายุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ข้อมูลจากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 39,032 คน ที่ตอบคำถามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันครบถ้วนถูกใช้ในการวิเคราะห์ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ การถดถอยโลจิสติกแบบทวิ ถูกใช้วิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวม ร้อยละ 29.4 ของผู้สูงอายุมีการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่จำกัดอย่างน้อย 1 กิจกรรม การกลั้นปัสสาวะ (ร้อยละ 17.4) การเคลื่อนที่ภายในบ้าน (ร้อยละ 16.4) คือ กิจกรรมที่ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดมากที่สุด ผลการวิเคราะห์สถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบทวิ พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่จำกัดอย่างน้อย 1 กิจกรรม คือ เพศหญิง, ผู้สูงอายุตอนกลางและตอนปลาย, สถานภาพโสด/หม้าย/หย่า/แยกกันอยู่, ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี, มีรายได้ไม่เพียงพอ, มีประวัติการหกล้ม, มีปัญหาการมองเห็น การได้ยิน และการเคี้ยว, และการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ ผลการศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำหรับการจัดบริการการดูแล และสนับสนุนผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหญิงที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ รวมทั้งควรมีการคัดกรองภาวะเสื่อมตามวัย ที่บูรณาการเข้าในการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อการตรวจสอบ และวางแผนในการสนับสนุนและดูแลแต่เริ่มแรก