ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ทางด้านสุขภาพ และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิง นโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัด ฉะเชิงเทรา เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 86 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูล คนสำคัญ จำนวน 9 คน วิเค...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ญาดา เรียมริมมะดัน, อนุสรณ์ อุดปล้อง, Yada Reamrimmadan, Anusorn Udplong
Other Authors: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72191
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ทางด้านสุขภาพ และสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิง นโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัด ฉะเชิงเทรา เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 86 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูล คนสำคัญ จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการทดสอบค่าที การหาความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (X = 2.452, SD = .397) ปัจจัยที่ส่งผลและสามารถ พยากรณ์คะแนนการดำเนินงานด้านสุขภาพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ได้แก่ ประเภทหน่วยงาน คุณวุฒิของ บุคลากร และโครงสร้างภายในองค์กร ตัวแปรทั้งหมด สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลการดำเนินงานด้านสุขภาพ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ร้อยละ 56.60 (Adjusted R2 = 0.566, p < .001) ผลการสังเคราะห์ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สรุปได้ 4 ประเด็น ได้แก่ 1. การวางแผนบริหารอัตรากำลังคนในการรับผิดชอบ ดำเนินการทางด้านสุขภาพ 2. การพัฒนาความสามารถ บุคลากรที่มีอยู่และเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงาน ด้านสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3. ส่งเสริม ให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือการทำงานร่วมกับองค์กร อื่น ๆ ในการดำเนินงานด้านสุขภาพ และ 4. การ พัฒนาและปรับปรุงระเบียบ/กฎหมายให้บริหารงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ