การเปรียบเทียบความรู้ ทักษะการออกกำลังกายและการฝึกเดิน ผลลัพธ์ของการพยาบาล และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจากโรงพยาบาลสู่บ้าน

บทนำ: แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจากโรงพยาบาลสู่บ้านได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำเป็นต้องมีการทดลองใช้เพื่อประเมินผลลัพธ์และนำไปปรับปรุง วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะการออกกำลั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ปาริชาติ พรสวัสดิ์ชัย, สุจิตรา เอื้อเฟื้อ, โยธกา ปัญญาเตียม, วรรณภา เย็นศิริกุล, อนงค์ ดิษฐสังข์, Parichart Pronsawatchai, Suchitra Auefuea, Yothaga Phanyateaim, Wannapa Yensirikul, Anong Dittasung
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาล
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
TKA
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72206
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทนำ: แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจากโรงพยาบาลสู่บ้านได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำเป็นต้องมีการทดลองใช้เพื่อประเมินผลลัพธ์และนำไปปรับปรุง วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะการออกกำลังกายและการฝึกเดิน ผลลัพธ์ของการพยาบาลและคุณภาพชีวิต ก่อนได้รับและหลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจากโรงพยาบาลสู่บ้าน วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 50 คน จากหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีการให้ความรู้ ฝึกทักษะการออกกำลังกายและการฝึกเดิน และประเมินผลในวันที่ 0 (ก่อนผ่าตัด) วันที่ 3 (หลังผ่าตัด) วันที่ 10 (เยี่ยมบ้าน) และวันที่ 14 (ตรวจตามนัด) จากนั้นเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมิน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t test และสถิติ Analysis of variance (ANOVA) ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P < .001) โดยหลังการใช้แนวปฏิบัติพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ ทักษะการออกกำลังกายและการฝึกเดิน และคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดลดลง และค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าในท่าเหยียดเพิ่มขึ้น และพบผู้ป่วยเพียง 1 คน ที่มีภาวะแทรกซ้อนของแผลผ่าตัดในวันที่ 14 สรุป: แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจากโรงพยาบาลสู่บ้านสามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยในการดูแลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสู่บ้านได้