การวัดคุณภาพการบริการของคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทนำ: การประเมินเปรียบเทียบช่องว่างความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้ป่วยในคลินิกระงับปวดผ่านตัวแบบคุณภาพการบริการ มีความจำเป็นในการเพิ่มคุณภาพการบริการ ซึ่งจะนำไปสู่ความพึงพอใจของผู้ป่วย วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังคุณภาพการบริการและการรับรู้คุณภาพการบริการ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุภลัคน์ ศักดานุวัฒน์วงศ์, พรชัย ศักดานุวัฒน์วงศ์, กรวีร์ พสุธารชาติ, วนิดา สอดสี, Supalak Sakdanuwatwong, Pornchai Sakdanuwatwong, Koravee Pasutharnchat, Wanida Sodsee
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72227
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทนำ: การประเมินเปรียบเทียบช่องว่างความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้ป่วยในคลินิกระงับปวดผ่านตัวแบบคุณภาพการบริการ มีความจำเป็นในการเพิ่มคุณภาพการบริการ ซึ่งจะนำไปสู่ความพึงพอใจของผู้ป่วย วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังคุณภาพการบริการและการรับรู้คุณภาพการบริการของผู้ป่วย ณ คลินิกระงับปวด โรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจในผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ คลินิกระงับปวด โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้แบบสอบถามประเมินความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่เข้ารับการบริการรักษา จำนวน 266 คน ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย จำนวน 266 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.16 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 61.28 การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.52 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 75.56 เข้ารับบริการตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 85.34 และอายุเฉลี่ยเท่ากับ 56.47 ± 16.27 ปี ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ รูปธรรมของการบริการ ความเชื่อถือได้ในการบริการ การตอบสนองต่อการบริการ และการรับประกันในการบริการ ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นการเอาใจใส่ในการบริการที่พบว่ามีการรับรู้มากกว่าความคาดหวัง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยรับรู้ว่าเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่ใช้สำหรับให้บริการรักษาต่ำกว่าความคาดหวัง สรุป: คลินิกระงับปวดมีคุณภาพการบริการโดยรวมและรายด้าน ทั้งด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ความเชื่อถือได้ในการบริการ การตอบสนองต่อการบริการ และการรับประกันการบริการตามความคาดหวัง ส่วนด้านการเอาใจใส่เรื่องการบริการสูงกว่าความคาดหวัง ขณะที่เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่ใช้ในคลินิก ผู้ป่วยมีการรับรู้ต่ำกว่าความคาดหวัง