การประเมินด้านการยศาสตร์ในคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง จังหวัดอุบลราชธานี

การเกิดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างถือว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบในกลุ่มคนงาน ตัดเย็บเสื้อผ้าเนื่องจากคนงานต้องนั่งหรือยืนทำงานในท่วงท่าที่มีความจำกัดตลอดทั้งวัน โดยพฤติกรรมดังกล่าวอาจ ส่งผลต่อความเมื่อยล้าจนก่อให้เกิดปัญหาด้านร่างกาย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พิชชาพร บุญสูง, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, ประสงค์, กิติดำรงสุข, เพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72235
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การเกิดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างถือว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบในกลุ่มคนงาน ตัดเย็บเสื้อผ้าเนื่องจากคนงานต้องนั่งหรือยืนทำงานในท่วงท่าที่มีความจำกัดตลอดทั้งวัน โดยพฤติกรรมดังกล่าวอาจ ส่งผลต่อความเมื่อยล้าจนก่อให้เกิดปัญหาด้านร่างกาย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาหาความชุกและประเมินปัญหาการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของคนงาน ในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 381 คน ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการรวบรวมข้อมูล โดยใช้ แบบสัมภาษณ์สำหรับเก็บข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์มาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและ กระดูกฉบับปรับปรุง (Modified Nordic Questionnaire) มาประยุกต์ใช้ และใช้แบบประเมินทางด้านการยศาสตร์ เบื้องต้น ได้แก่แบบประเมิน Rapid Upper Limb Assessment (RULA) และแบบประเมิน Quick Exposure Check (QEC) เพื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-square และ Logistic regression ผลการศึกษาพบความชุก ร้อยละ 92.7 ของการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่วนที่พบมากที่สุด ได้แก่หลังส่วนล่าง ไหล่ และคอ ตามลำดับ และร้อยละ 72.2 ของการ เกิดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ส่วนที่พบมากที่สุด ได้แก่คอ ข้อ เท้า/เท้า และหลังส่วนล่าง ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและ กระดูกโครงร่างของคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าได้แก่เพศและตำแหน่งงาน ผลการประเมินท่าทางการทำงานโดยใช้ แบบประเมิน RULA พบว่ามีความเสี่ยงสูง (คะแนนเฉลี่ยรวม 5 คะแนน) ซึ่งหมายถึงงานนั้นเริ่มมีปัญหา ควรรีบ ปรับปรุงทันที ซึ่งผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงใน การทำงานให้เหมาะสมกับบริบทการทำงาน ให้คนงานได้รับการดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับ สภาพการณ์การทำงานที่เป็นจริง