การประเมินผลลัพธ์การให้บริการเครื่องช่วยฟังสำหรับผู้รับบริการที่มีปัญหาสูญเสียการได้ยิน

บทนำ: การสูญเสียการได้ยินเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นตามอายุ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการสื่อสาร นำไปสู่การแยกตัวออกจากสังคม การใส่เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมช่วยให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินกลับมาสื่อสารและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นจึงควรมีการกำหนดตัวชี้วัดและประเมินผลลัพธ์การให้บริการเครื่องช่วยฟัง วัตถุประสงค์: เพ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล, วรรณิภา ชูชัย, พงศกร ล้อประเสริฐ, อังคณา เลิศภูมิปัญญา, Rattinan Tiravanitchakul, Wannipha Chuchai, Pongsakorn Lorprasert, Angkana Lertpoompunya
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/72262
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทนำ: การสูญเสียการได้ยินเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นตามอายุ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการสื่อสาร นำไปสู่การแยกตัวออกจากสังคม การใส่เครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมช่วยให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินกลับมาสื่อสารและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นจึงควรมีการกำหนดตัวชี้วัดและประเมินผลลัพธ์การให้บริการเครื่องช่วยฟัง วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการให้บริการเครื่องช่วยฟังและศึกษาปัญหาอุปสรรคในการใช้งานเครื่องช่วยฟังตามการรับรู้ของผู้รับบริการ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลังโดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของกลุ่มตัวอย่างผู้มารับบริการเครื่องช่วยฟัง ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 634 คน ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล จากนั้นวิเคราะห์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างขณะใส่เครื่องช่วยฟังและไม่ใส่เครื่องช่วยฟังโดยใช้สถิติ Paired t test และสังเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการใช้งานเครื่องช่วยฟังโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา: ผลลัพธ์การให้บริการเครื่องช่วยฟังจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 634 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยการได้ยินและร้อยละของการประเมินความสามารถในการจำแนกคำพูดด้วยการฟังและพูดตามคำพูดหนึ่งพยางค์ในแต่ละระดับของการสูญเสียการได้ยินขณะใส่เครื่องช่วยฟังและไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01) ภาพรวมความพึงพอใจต่อการรับบริการและการใช้เครื่องช่วยฟังมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 และ 4.34 ตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้เครื่องช่วยฟัง ได้แก่ การสื่อสาร การใช้งาน และการดูแลเครื่องช่วยฟังและแบบพิมพ์หู สรุป: ผลลัพธ์การให้บริการเครื่องช่วยฟังของโรงพยาบาลรามาธิบดี ขณะใส่เครื่องช่วยฟังผู้รับบริการได้ยินเสียงและสื่อสารได้เพิ่มขึ้น มีความพึงพอใจต่อการให้บริการและการใช้เครื่องช่วยฟังที่ได้รับตามตัวชี้วัดที่กำหนด