ผลของกิจกรรมศิลปะที่มีต่อการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศีกษาที่อยู่ในองค์ประกอบห้องเรียนต่างกัน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของ การใช้กิจกรรมศิลปะในบริบทองค์ประกอบของ ห้องเรียนต่างกัน ที่ส่งผลต่อการยอมรับความหลาก หลายวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในเขต อำเภอเมืองปัตตานี ประ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์, บัญญัติ ยงย่วน
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
Format: Article
Language:Thai
Published: 2015
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/7515
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของ การใช้กิจกรรมศิลปะในบริบทองค์ประกอบของ ห้องเรียนต่างกัน ที่ส่งผลต่อการยอมรับความหลาก หลายวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในเขต อำเภอเมืองปัตตานี ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 115 คน ซึ่งได้มาโดย การสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยห้องเรียน จำนวน 4 ห้อง 1) ห้องเรียนไทย พุทธ-ไทยมุสลิม ได้รับกิจกรรมศิลปะแบบพหุ วัฒนธรรม 2) ห้องเรียนไทยพุทธ-ไทยมุสลิม ได้รับ กิจกรรมศิลปะแบบปกติ 3) ห้องเรียนไทยมุสลิมล้วน ได้รับกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม และ4) ห้องเรียนไทยมุสลิมล้วน ได้รับกิจกรรมศิลปะแบบปกติ แบบแผนการทดลองคือ แบบพหุเหตุปัจจัย แบบมีกลุ่ม ควบคุม และทดสอบหลังการทดลอง เครื่องมือในการิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบวัดการยอมรับความหลากหลาย วัฒนธรรม2) แบบวัดความตระหนักรู้ในวัฒนธรรม 3) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม และ 4) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะแบบปกติ เวลาที่ใช้ใน การทดลอง คือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 คาบติดต่อกัน ต่อเนื่อง 14 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนร่วมแบบสองทางพบว่า 1) นักเรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมศิลปะแบบพหุวัฒนธรรม และนักเรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมศิลปะแบบปกติ มีการยอมรับความหลากหลาย วัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2) นักเรียนในห้องเรียนไทยพุทธ-มุสลิม และ นักเรียนในห้องเรียนไทยมุสลิมล้วน มีการยอมรับความ หลากหลายวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 3) ไม่พบกิริยาร่วมระหว่างกิจกรรม ศิลปะ และองค์ประกอบของห้องเรียน