การประเมินความเจ็บปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุ
ความเจ็บปวดในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นความเจ็บปวดเรื้อรังที่ส่งผลภาวะสุขภาพเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแล จากการศึกษาพบว่า พยาธิสภาพของการเจ็บปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุประกอบไปด้วย 4 กลไกหลักที่ส่งผลในรักษาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ความ...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Review Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79545 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | ความเจ็บปวดในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นความเจ็บปวดเรื้อรังที่ส่งผลภาวะสุขภาพเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแล จากการศึกษาพบว่า พยาธิสภาพของการเจ็บปวดเรื้อรังในผู้สูงอายุประกอบไปด้วย 4 กลไกหลักที่ส่งผลในรักษาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ความเจ็บปวดที่มีสาเหตุจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ จากการบาดเจ็บเส้นประสาท จากการบาดเจ็บร่วมกันของเนื้อเยื่อและเส้นประสาท หรือจากภาวะจิตใจและอารมณ์ ซึ่งความเจ็บปวดเรื้อรังเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกาย ได้แก่ เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตสูง อยากอาหารน้อยลง มีปัญหาการนอนหลับ และส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจและสังคม เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล การประเมินความเจ็บปวดในผู้สูงอายุนอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว ยังมีการประเมินโดยใช้เครื่องมือวัดความรุนแรงของความเจ็บปวด การเลือกเครื่องมือประเมินขึ้นอยู่กับการรู้คิดและความสามารถในการสื่อสารของผู้สูงอายุในแต่ละราย อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุมีอุปสรรคในการประเมินภาวะเจ็บปวด ได้แก่ ปัญหาการมองเห็น ปัญหาการได้ยิน และปัญหาด้านความจำ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการสื่อสารและการแปลผลการประเมิน เครื่องมือการประเมินความเจ็บปวดที่สามารถประเมินความเจ็บปวดได้อย่างละเอียดที่สุดคือ เครื่องมือวัดความปวดในหลายด้าน (Multidimensional tool) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดคือ แบบประเมินความเจ็บปวดของแมคกิลล์แบบย่อ (Short-form McGill pain questionnaire, SF-MPQ) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีความสามารถในการสื่อสารและไม่มีปัญหาด้านความจำบกพร่อง |
---|