การศึกษาเปรียบเทียบการใส่ท่อช่วยหายใจโดยใช้ Videolaryngoscope และ Macintosh laryngoscope ในหุ่นทดลองที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวบริเวณคอ

บทนำ: การใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกคอ ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ ช่วยในการใส่ท่อช่วยหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกคอ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการใส่ท่อช่วยหายใจโดยใช้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ไชยพร ยุกเซ็น, ธิดาทิต ประชานุกูล, วัชรพงศ์ ชินศุภลักษณ์, ธาวินี ไตรณรงค์สกุล, Chaiyaporn Yuksen, Thidathit Prachanukool, Watcharapong Chinsupaluk, Thavinee Trainarongsakul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79669
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทนำ: การใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกคอ ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ ช่วยในการใส่ท่อช่วยหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่กระดูกคอ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการใส่ท่อช่วยหายใจโดยใช้ Glidescope video laryngoscope (GVL) เปรียบเทียบกับ Macintosh laryngoscope (ML) ในหุ่นจำลองที่ใส่เฝือกคอเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกคอ วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีประสบการณ์ในการใส่ท่อช่วยหายใจ (แพทย์ประจำบ้าน) และกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ในการใส่ท่อช่วยหายใจ (นักศึกษาแพทย์ปีที่ 5) สุ่มทำการใส่ท่อช่วยหายใจโดยวิธี Glidescope video laryngoscope (GVL) เปรียบเทียบกับ Macintosh laryngoscope (ML) กับหุ่นจำลองที่ใส่เฝือกคอ ข้อมูลที่บันทึกคือ เวลาที่ใช้ในการใส่ท่อช่วยหายใจ อัตราความสำเร็จในการใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวนครั้งในการใส่ท่อช่วยหายและมุมการมองเห็นกล่องเสียง (Cormack-Lehane classification) ผลการศึกษา: เวลาที่ใช้ในการใส่ท่อช่วยหายใจสำเร็จโดยวิธี ML น้อยกว่า GVL อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการใส่ท่อช่วยหายใจมาก่อน แต่ในกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์พบว่าใช้เวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจไม่แตกต่างกัน อัตราความสำเร็จในการใส่ท่อช่วยหายใจของอุปกรณ์ทั้งสองชนิดไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่มุมการมองเห็นกล่องเสียงของการใส่ท่อช่วยหายใจโดยวิธี GVL ดีกว่าวิธี ML อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ในการใส่ท่อช่วยหายใจ สรุป: GVL มีมุมการมองเห็นกล่องเสียงดีกว่า ML แต่ใช้เวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6 วินาที GVL มีข้อดีกว่า ML ในการใส่ท่อช่วยหายใจในกรณีที่คาดว่าจะใส่ท่อช่วยหายใจลำบาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์การใส่ท่อช่วยหายใจมาก่อนแต่จะใช้เวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจนานขึ้น