ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่มีอาการปวด
บทนำ: อาการปวด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ และทำให้เกิดความทรมานในผู้ป่วยอย่างมาก พบว่าอาการปวด มีความสัมพันธ์กับโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวล รวมทั้งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยท...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Original Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79717 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | บทนำ: อาการปวด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ และทำให้เกิดความทรมานในผู้ป่วยอย่างมาก พบว่าอาการปวด มีความสัมพันธ์กับโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวล รวมทั้งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยที่มีอาการปวด รวมทั้งศึกษาความชุกของโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ในผู้ป่วยที่มีอาการ
วิธีการวิจัย: ศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยอาการปวด ที่หน่วยระงับปวด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา และแผนกผู้ป่วยนอก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ช่วงปี พ.ศ. 2553-2555 ทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย แบบประเมินเกี่ยวกับระดับความปวด แบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย และแบบสำรวจสุขภาพทั่วไป (SF-36)
ผลการศึกษา: พบว่าระดับความปวด มีความสัมพันกับอาการซึมเศร้า และคะแนนอาการวิตกกังวล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.005 และ P = 0.001 ตามลำดับ) โดยพบผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ร้อยละ 12.8 และโรควิตกกังวล ร้อยละ 20 นอกจากนี้ คะแนนอาการซึมเศร้าและคะแนนอาการวิตกกังวล ยังมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.000) และมีผลซึ่งกันและกัน แต่ไม่มีอิทธิพลต่อคะแนนระดับความปวด สำหรับคุณภาพชีวิต พบว่าระดับความปวดสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่แย่ลงในหลายด้าน
สรุป: อาการปวด มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ดังนั้น แพทย์ผู้ดูแลจึงควรตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดูแลผู้ป่วยต่อไป |
---|