ความเห็น ความต้องการของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย

เพื่อสำรวจข้อมูลด้านความคิดเห็น ความต้องการของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมายเกี่ยวกับการสอนการเรียนและความรู้ด้านวิชาชีพ โดยการตอบแบบสอบถามผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวบรวมข้อมูลที่ได้และนำมาจัดหมวดหมู่ด้วยวิธีจำแนก แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ ความแปรปรวนระ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กัลยาณี มกราภิรมย์, สุมาลี ดีจงกิจ, รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล, Kalyanee Makarabhirom, Sumalee Dechongkit, Rattinan Tiravanitchakul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79733
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:เพื่อสำรวจข้อมูลด้านความคิดเห็น ความต้องการของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมายเกี่ยวกับการสอนการเรียนและความรู้ด้านวิชาชีพ โดยการตอบแบบสอบถามผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวบรวมข้อมูลที่ได้และนำมาจัดหมวดหมู่ด้วยวิธีจำแนก แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นค่าร้อยละ ความแปรปรวนระหว่างชั้นปีโดยใช้สถิติ ANOVA และระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Scheffe กลุ่มตัวอย่างจำนวน 59 คน มีอายุเฉลี่ย 26.6 ปี เป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 3 ปีที่ 4 และหลักสูตรต่อเนื่อง นักศึกษาจำนวน 33 คน และ 26 คน เลือกเรียนด้านแก้ไขการได้ยินและด้านแก้ไขการพูดตามลำดับร้อยละ 70 มีความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 76 ต้องการปฏิบัติงานภาครัฐในตำแหน่งข้าราชการเมื่อสำเร็จการศึกษา ผลความต้องการในระดับมากที่สุด คือ ด้านภาคปฏิบัติและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในการฝึกกับด้านความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพ ส่วนความต้องการในระดับมาก ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง ด้านการเรียนการสอนที่ต้องการเรียนรู้จากการดูงานนอกสถานที่รวมถึงจากห้องปฏิบัติการ และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้จากตำราภาษาไทย สำหรับผลความคิดเห็น พบว่านักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการสอนการเรียนและวิชาชีพอยู่ในระดับมาก เมื่อศึกษาความคิดเห็นความต้องการทุกด้านของนักศึกษาตามกลุ่มอายุ พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้สามารถนำมากำหนดทิศทางในการประกันคุณภาพการศึกษาและวางแผนการผลิตบุคลากรให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ