ผลของการฝึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยเครื่องฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ

วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการฝึกโดยใช้เครื่องฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ (AT = Bi-Manu track) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะพ้นเฉียบพลันที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีก รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงทดลอง สถานที่ทำการวิจัย: สถาบันประสาทวิทยา กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีกโดยมีค...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ทิพยรัตน์ ศฤงคารินกุล, พรทิพย์พา ธิมายอม, Tipyarat Saringcarinkul, Pornthippa Thimayom
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79759
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการฝึกโดยใช้เครื่องฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ (AT = Bi-Manu track) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะพ้นเฉียบพลันที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีก รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงทดลอง สถานที่ทำการวิจัย: สถาบันประสาทวิทยา กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะอ่อนแรงครึ่งซีกโดยมีคะแนนความสามารถในการเคลื่อนไหว [FM UE] gif.latex?\leq 27 จำนวน 20 ราย วิธีการศึกษา: เปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมที่ได้รับโปรแกรมทางกิจกรรมบำบัดทั่วไป [OT] อย่างน้อยวันละ 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์และกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกเพิ่มด้วยเครื่องฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมืออีกวันละ 30 นาที [OT+AT] ใน 3 ด้านคือ คะแนนความสามารถในการเคลื่อนไหว [FM UE 0-66] คะแนนความสามารถในการทำกิจกรรม [MFT 0-32] และการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ [MAS 0-4] ผลการศึกษา: ผลคะแนนความสามารถในการเคลื่อนไหวและความสามารถในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังได้รับโปรแกรมการฝึกทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: การฝึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยเครื่องฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือไม่ให้ผลแตกต่างกับการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกทางกิจกรรมทั่วไป อย่างไรก็ดีควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต