แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลการบาดเจ็บ 10 นาทีแรก ณ หน่วยกู้ชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดี

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลการบาดเจ็บ 10 นาทีแรก ณ หน่วยกู้ชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยกู้ชีพ จำนวน 30 คน ได้รับการอบรมความรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง เรื่องการใช้แนวปฏิบัติสำหรับพยาบ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พีรญา ไสไหม, ไสว นรสาร, สนธญา พันธ์กิงทิพย์, กรองได อุณหสูต, Phiraya Saimai, Savai Norasan, Sontaya Punkingtrip, Krongdai Unhasuta
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79764
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลการบาดเจ็บ 10 นาทีแรก ณ หน่วยกู้ชีพ โรงพยาบาลรามาธิบดี วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยกู้ชีพ จำนวน 30 คน ได้รับการอบรมความรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง เรื่องการใช้แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลการบาดเจ็บ 10 นาทีแรก และแนวทางในการจัดการทางอุบัติเหตุสำหรับพยาบาล 13 flowcharts เครื่องที่ใช้พัฒนาโดยกรองได อุณหสูต และเครือข่ายพยาบาลอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย โดยใช้แนวคิดการปฏิบัติในการช่วยชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บขั้นสูง ประกอบด้วยประเด็นของการค้นหาปัญหาจากการปฏิบัติงาน และการค้นหาปัญหาจากแหล่งความรู้ (การประเมินอาการ การจัดการและการเฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่อง) ประเมินผลการวิจัยหลังการใช้แนวปฏิบัติ นาน 1 เดือน ผลการศึกษา: พยาบาลมีความพึงพอใจมากที่มีแนวทางในการปฏิบัติ ช่วยให้ทำงานเป็นระบบและลดความผิดพลาดและช่วยชีวิตผู้ป่วยได้รวดเร็ว การบันทึกทางการพยาบาลส่วนใหญ่บันทึกการจำแนกความรุนแรงและการปฏิบัติตามแผนการรักษา มีการบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วนตามแนวปฏิบัติสำหรับพยาบาล เช่น การดูแลให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและความสุขสบายของผู้ป่วย การให้ข้อมูลแก่ญาติ สรุปผล: พยาบาลส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากที่มีแนวทางปฏิบัติ การบันทึกข้อมูลทางการพยาบาลในเวชระเบียนไม่ครบถ้วนตามแนวปฏิบัติ ข้อเสนอแนะควรกำหนดการใช้แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้บาดเจ็บ 10 นาทีแรกอยู่ในระบบการดูแลผู้บาดเจ็บมนหน่วยงาน และจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้แนวปฏิบัติ