การจัดการความเสี่ยงทางคลินิกของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดระดับการจัดการความเสี่ยงทางคลินิก และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรการแพทย์ที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบควา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: จรัญ โดยเจริญ, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, วิริณธิ์ กิตติพิชัย, Charan Doicharoen, Chardsumon Prutipinyo, Wirin Kittipichai
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79933
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดระดับการจัดการความเสี่ยงทางคลินิก และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรการแพทย์ที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง จำนวน 260 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความเที่ยงโดยวิธีแอลฟาของครอนบาค ในส่วนที่ 2 และ 3ได้เท่ากับ .805 และ .957 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติหาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 94.2) มีอายุระหว่าง 22-30 ปี (ร้อยละ 57.7) เป็นพยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 86.2) การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 96.20) มีชั่วโมงการทำงาน 41-50 ชั่วโมง/ต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 36.20) และมีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอยู่ระหว่าง 3-5 ปี (ร้อยละ 35.8) การวิเคราะห์การจัดการความเสี่ยงทางคลินิก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( =3.57, S.D.=0.63) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การกระทำที่ไม่ปลอดภัย การควบคุมกำกับติดตามการกระทำที่ไม่ปลอดภัย และอิทธิพลจากองค์กร มีความสัมพันธ์กับการจัดการความเสี่ยงทางคลินิกของบุคลากรการแพทย์ โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (r= -0.906, r=0.682 และ r = 0.430 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.05) ดังนั้น ควรส่งเสริมให้บุคลากรค้นหาความเสี่ยงเชิงรุกจากการปฏิบัติงาน และการศึกษา เรียนรู้ อุบัติการณ์ความเสี่ยงจากหน่วยงานอื่น เพื่อวิเคราะห์ความรุนแรง ความถี่ และการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ผู้บริหารมีส่วนสำคัญต่อระบบบริหารจัดการความเสี่ยงทางคลินิก โดยกำหนดผู้มีบทบาทหน้าที่คอยควบคุมกำกับ ติดตาม และกำหนดมาตรการป้องกันการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของบุคลากรการแพทย์