การตีความคำว่า “ลวนลาม” ในภาษาไทยของนักศึกษามหาวิทยาลัยตามแนวคิดทฤษฎีต้นแบบ (Prototype Theory)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของคำว่า “ลวนลาม” ตามความรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยตามแนวคิดทฤษฎีต้นแบบ (Prototype Theory) โดยมีเพศเป็นตัวแปรในการพิจารณาแบ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเพศชายจำนวน ๒๕ คน และเพศหญิงจำนวน ๒๕ คน ผลการวิจัยพบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มให้ค่าน้ำหนักของการลวนลามมากกว่าเพศ...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/79956 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของคำว่า “ลวนลาม” ตามความรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยตามแนวคิดทฤษฎีต้นแบบ (Prototype Theory) โดยมีเพศเป็นตัวแปรในการพิจารณาแบ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเพศชายจำนวน ๒๕ คน และเพศหญิงจำนวน ๒๕ คน
ผลการวิจัยพบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มให้ค่าน้ำหนักของการลวนลามมากกว่าเพศชาย โดยสถานการณ์ที่เพศหญิงให้ค่าน้ำหนักมากกว่าเพศชายมี ๑๐ สถานการณ์ จาก ๑๖ สถานการณ์ ซึ่งมี ๒ สถานการณ์ที่เพศหญิงให้ค่าน้ำหนักมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p≤๐.๐๕ เพศชายและเพศหญิงตีความว่าการลวนลามทางคำพูดเป็นการลวนลามมากกว่าการลวนลามทางการกระทำ การวิจัยนี้จะช่วยในการทำความเข้าใจการตีความที่แตกต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิงและสามารถเลือกวิธีการปฏิบัติหรือการวางตัวเมื่อต้องอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น |
---|