ประสบการณ์ของพยาบาลในการให้บริการสุขภาพจิตแก่ผู้ประสบภัยสึนามิ พ.ศ. 2547 หลังภัยพิบัติ 6 เดือนแรก

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสบการณ์การให้บริการสุขภาพจิตในเวลา 6 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิและศึกษาปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคในการให้บริการสุขภาพจิตจากมุมมองของพยาบาลในจังหวัดพังงา วิธีดำเนินการวิจัย: ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคือพยาบาลปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพระ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, Acharaporn Seeherunwong, ประภา ยุทธไตร, Prapa Yuttatri, อติรัตน์ วัฒนไพลิน, Atirat Wattanapailin, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, Atittaya Pornchaikate Au-Yeong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/8735
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสบการณ์การให้บริการสุขภาพจิตในเวลา 6 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิและศึกษาปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคในการให้บริการสุขภาพจิตจากมุมมองของพยาบาลในจังหวัดพังงา วิธีดำเนินการวิจัย: ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคือพยาบาลปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพระดับต่างๆ จำนวน 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม 2 ครั้ง และสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวจำนวน 10 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: ประสบการณ์การให้บริการสุขภาพจิตจากมุมมองของพยาบาลมี 5 ประเด็น ประเด็นแรกเป็นการดูแล สุขภาพจิตในช่วงวิกฤติฉุกเฉิน ได้แก่ “เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ประคับประคองจิตใจ” ประเด็นที่ 2-4 เป็นเรื่องการดำเนินงานในการให้บริการสุขภาพจิต ได้แก่ “คนในชุมชนบอก จึงพบคนเครียดสูง” “ทำงานเหมือนเป็นสะพาน ขาดการมีส่วนร่วม” และ “ต่างคนต่างทำ ไม่ประสานพื้นที่ มีความสับสน” และประเด็นสุดท้าย เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการ สุขภาพจิต ได้แก่ “ฟ้าเริ่มใส เจ้าหน้าที่เริ่มล้า” สำหรับปัจจัยเกื้อหนุนได้แก่ การมีพยาบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริการ สุขภาพจิตในพื้นที่ การมีเครือข่ายชุมชน และอสม.ที่เข้มแข็ง การเรียนรู้การบริหารจัดการจากท้องที่อื่น และปัจจัยที่เป็น อุปสรรค ได้แก่การขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ และการมีผู้ประสบภัยพักพิงในพื้นที่จำนวนมาก สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนรับมือการช่วยเหลือด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภัยพิบัติโดยนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือ รวมทั้งมีแผนบริหารจัดการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อย่างเป็นระบบ