ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้น

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้น รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในเขตจังหวัดจันทบุรี ถูกสุ่มมา 1 ห้องเรียนและนักเรียนในห้องถูกสุ่มมา 30 คน หลังจากนั้นนักเรียนถูกสุ่มเป็นกลุ่มท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อติรัตน์ วัฒนไพลิน, Atirat Wattanapailin, ลลนา ประทุม, Lalana Pratum, ยาใจ สิทธิมงคล, Yajai Sitthimongkol
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/8745
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดต่อภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้น รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทดลอง วิธีดำเนินการวิจัย: นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในเขตจังหวัดจันทบุรี ถูกสุ่มมา 1 ห้องเรียนและนักเรียนในห้องถูกสุ่มมา 30 คน หลังจากนั้นนักเรียนถูกสุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 15 คนและกลุ่มควบคุม 15 คน ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างทั้ง 30 คน จะได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้าโดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในเด็กหลังจากนั้นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ1 ชั่วโมง - 1 ชั่วโมง 30 นาทีจำนวน 11 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลช่วยเหลือตามปกติที่ทางโรงเรียนจัดให้ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้าอีกครั้ง ณ เวลาเดียวกัน คือ เมื่อกลุ่มทดลองสิ้นสุดโปรแกรมทันที ระยะติดตามผล 1 เดือน และระยะติดตามผล 3 เดือน ค่าคะแนนภาวะซึมเศร้าที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าก่อนทดลอง หลังทดลองและระยะติดตามผลภายในกลุ่มทดลองและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ repeated-measures ANOVA ผลการวิจัย: ผลการศึกษา พบว่าวัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าหลังสิ้นสุดโปรแกรมทันที ระยะติดตามผล 1 เดือนและระยะติดตามผล 3 เดือน ต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมทันที ระยะติดตามผล 1 เดือน และระยะติดตามผล 3 เดือน ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง (p < .01, p< .01 และ p < .05 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น สามารถนำโปรแกรมพัฒนาทักษะการเผชิญความเครียดไปใช้ในเชิงป้องกันและลดปัญหาภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นได้ โดยส่งเสริมและฝึกฝนให้วัยรุ่นมีทักษะในการจัดการกับความคิดทางลบและมีทักษะในการจัดการกับความเครียดที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ