การรับรู้ความเจ็บป่วย การตอบสนองทางอารมณ์ และประสบการณ์ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในการทํานายการตัดสินใจมารับการรักษาของผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยในการทํานายการตัดสินใจมารับการรักษาของผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทํานาย (correlational predictive research) วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจํานวน 92 คน ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พิมพา เทพวัลย์, Pimpa Thepphawan, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, Doungrat Watthnakitkrileart, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, Kanaungnit Pongthavornkamol, ฉัตรกนก ทุมวิภาต, Chatkanok Dumavibhat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/8801
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยในการทํานายการตัดสินใจมารับการรักษาของผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทํานาย (correlational predictive research) วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจํานวน 92 คน ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการประเมินการรับรู้ความเจ็บป่วยฉบับย่อ (The Brief Illness Perception Questionnaire, Brief IPQ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติ Mann-Whitney U test และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ ผลการวิจัย: พบว่าผู้ป่วยใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจมารับการรักษามีค่ามัธยฐาน 37 นาที (mean = 120, S.D. = 157.087) การรับรู้ความเจ็บป่วยทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ด้านความสามารถในการควบคุม/รักษาความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น และด้านผลที่คาดว่าจะเกิดตามมาภายหลังจากความเจ็บป่วย การตอบสนองทางอารมณ์ และประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สามารถร่วมกันทํานายการตัดสินใจมารับการรักษาได้ 67.1% ผลที่คาดว่าจะเกิดตามมาภายหลังจากความเจ็บป่วยและความสามารถในการควบคุม/รักษาความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น สามารถทํานายการตัดสินใจมารับการรักษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05 และ .001 ตามลําดับ) ผู้ป่วยที่เคยมีประสบการณ์การเข้ารับการรักษาจะตัดสินใจมารับการรักษาล่าช้ากว่าผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ครั้งแรกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลต้องตระหนักถึงการรับรู้ถึงความเจ็บป่วย ผลที่ผู้ป่วยคาดว่าจะเกิดตามมา เพื่อมาใช้ในการวางแผนให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยหรือพัฒนาวิธีการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการตัดสินใจมารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที