The effectiveness of health service system of peritoneal dialysis patients : a multilevel approach

การศึกษาเชิงบรรยายภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปัจจัยระดับสถานบริการ และระดับผู้ป่วยต่อภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง สุ่มตัวอย่างผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 500 รายและ พยาบาลล้างไตทางช่องท้อง 38 รายจากสถานบริการล้างไตทางช่องท้องจำนวน 27 แห่ง ระหว่างเดือนมิถุนายน 2553 ถึงเดือ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: Rotsukon Varitsakul
Other Authors: Siriorn Sindhu
Language:English
Published: Mahidol University. Mahidol University Library and Knowledge Center 2023
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/89351
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: English
Description
Summary:การศึกษาเชิงบรรยายภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปัจจัยระดับสถานบริการ และระดับผู้ป่วยต่อภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง สุ่มตัวอย่างผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง 500 รายและ พยาบาลล้างไตทางช่องท้อง 38 รายจากสถานบริการล้างไตทางช่องท้องจำนวน 27 แห่ง ระหว่างเดือนมิถุนายน 2553 ถึงเดือนตุลาคม 2554 ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และใช้การวิเคราะห์พหุระดับ ผลการศึกษาพบว่า ภาวะแทรกซ้อนรายกลุ่มที่มีความชุกสูงมาก คือ กลุ่มภาวะแทรกซ้อนจากไตวายเรื้อรัง พบร้อยละ 99.2 กลุ่มภาวะแทรกซ้อนจากการล้างไต พบร้อยละ 95.8 และกลุ่มที่มีความไม่เพียงพอของ การล้างไต พบร้อยละ 93.6 และภาวะแทรกซ้อนที่มีความชุกสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ ปัญหาความผิดปกติของ กระดูก พบร้อยละ 91.2 ความไม่สมดุลของเกลือแร่ พบร้อยละ 89.8 และภาวะซีด พบร้อยละ 87.8 ตามลาดับ ผล การวิเคราะห์พหุระดับพบว่า ปัจจัยรูปแบบการบริการโดยการพยาบาลล้างไตทางช่องท้อง (=-1.045, p<.01) ใน ระดับสถานบริการ ร่วมกับปัจจัยระดับผู้ป่วยได้แก่ ภาวะโรคร่วม (=.325, p<.01) ความสามารถในการปฏิบัติ กิจวัตรประจำวัน (=-.045, p<.01) และการจัดการดูแลตนเองในการล้างไตทางช่องท้อง (=-.038, p<.01) สามารถทานายภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ปัจจัยรูปแบบการบริการโดยการพยาบาลล้างไต ทางช่องท้องสามารถอธิบายความแปรปรวนในภาวะแทรกซ้อนได้ร้อยละ 48.7 และกลุ่มปัจจัยระดับผู้ป่วยสามารถ อธิบายความแปรปรวนในภาวะแทรกซ้อนได้ร้อยละ 19.8 การศึกษาครั้งนี้พบว่าปัจจัยระดับสถานบริการไม่มี อิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับผู้ป่วยกับภาวะแทรกซ้อน (all p>.05) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของปัจจัยในระดับสถานบริการที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของ ระบบบริการล้างไตทางช่องท้อง ดังนั้น สถานบริการจึงควรประยุกต์ใช้รูปแบบการพยาบาลล้างไตทางช่องท้องใน การให้บริการสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดภาวะแทรกซ้อนได้ดีขึ้น ส่วนปัจจัยในระดับผู้ป่วยควร ได้รับการประเมินและจัดการให้ผู้ป่วยมีความพร้อมตั้งแต่ระยะก่อนรับการรักษา นอกจากนี้ พยาบาลควรมุ่งเน้น การค้นหาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้