การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจของการผลิตปาล์มน้ำมันในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจของการผลิตปาล์มน้ำมันในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐสังคม การจัดการการผลิตปาล์มน้ำมัน การซื้อขายผลผลิตปาล์มน้ำมัน และความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (2) เพื่อจำแนกและวิเคราะห์ระบบการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตร...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | Thai |
Published: |
2014
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/9196 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจของการผลิตปาล์มน้ำมันในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐสังคม การจัดการการผลิตปาล์มน้ำมัน การซื้อขายผลผลิตปาล์มน้ำมัน และความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (2) เพื่อจำแนกและวิเคราะห์ระบบการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดรายได้ของครัวเรือนเกษตรกร (4) เพื่อประมาณการฟังก์ชันการผลิตปาล์มน้ำมัน และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร และ (5) เพื่อวัดประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจในการผลิตปาล์มน้ำมัน และวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจำนวน 150 ราย ซึ่งได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยพหุ และการวิเคราะห์เส้นพรมแดนเชิงเฟ้นสุ่ม
เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุมาก มีรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 525,303 บาทต่อปี พื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 29.08 ไร่ และขายผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ลานเทเอกชน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกรมากที่สุดคือ ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตเร็วกว่ายางพารา วัตถุประสงค์หลักในการทำสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร คือ เพื่อเป็นอาชีพที่สร้างรายได้หลักของครัวเรือน รูปแบบของระบบการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่มีทั้งหมด 7 ระบบ คือ (1) ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน-ยางพารา (2) ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน (3) ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน-ผัก (4) ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน-ผลไม้ (5) ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน-ยางพารา-ผัก (6) ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน-ยางพารา-ผลไม้ และ (7) ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน-ยางพารา-ผัก-ผลไม้
ปัจจัยกำหนดรายได้ของครัวเรือนเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ตัวแปรระดับการศึกษาและพื้นที่ถือครอง ปัจจัยกำหนดผลผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ตัวแปรพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันและแรงงานคนที่ใช้ในการผลิตปาล์มน้ำมัน เกษตรกรมีการใช้พื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันและแรงงานคนในระดับต่ำกว่าระดับที่เหมาะสม ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีสูงกว่าระดับที่เหมาะสม
เกษตรกรมีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจในการผลิตปาล์มน้ำมันอยู่ในช่วงร้อยละ 78-99 และมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 95 ปัจจัยกำหนดประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ตัวแปรประสบการณ์ในการทำสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกร การรวมกลุ่มเพื่อต่อรองราคาของเกษตรกร การเยี่ยมเยียนของนักวิชาการและ/หรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการ ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน และแหล่งที่มาของกล้าปาล์มน้ำมัน |
---|