การพัฒนาวิธีเตรียมสารสกัดเฟิร์น (Cyclosorus terminans) ที่มีอินเตอร์รับตินเอและบีในปริมาณสูงและมีความคงตัว

เฟิร์น Cyclosorus terminans (วงศ์ Thelypteridaceae) เป็นพืชชั้นต่ำที่พบได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะภาคใต้ของประเทศไทย ยอดอ่อนสามารถรับประทานเป็นอาหารได้และเป็นสมุนไพรมีศักยภาพใน การพัฒนาเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเบาหวานและความอ้วนเนื่องจากมีสารออกฤทธิ์อินเตอร์รับตินเอ และบีงานวิจัยนี้จึงมีวัตถ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สิรีวรรณ วิริยกุลโอภาศ, ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์
Other Authors: Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmacognosy and Pharmaceutical Botany)
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2021
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/13382
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:เฟิร์น Cyclosorus terminans (วงศ์ Thelypteridaceae) เป็นพืชชั้นต่ำที่พบได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะภาคใต้ของประเทศไทย ยอดอ่อนสามารถรับประทานเป็นอาหารได้และเป็นสมุนไพรมีศักยภาพใน การพัฒนาเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเบาหวานและความอ้วนเนื่องจากมีสารออกฤทธิ์อินเตอร์รับตินเอ และบีงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาวิธีการเตรียมสารสกัดเฟิร์น C. terminans ที่มีสารกลุ่ม อินเตอร์รับตินในปริมาณสูงและมีความคงตัว โดยศึกษาเปรียบเทียบผลการสกัดสารอินเตอร์รับตินด้วย ตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ เอทานอล 95% ไอโซโพรพานอล และเอธิลอะซิเตท และใช้วิธีการสกัด 4 วิธี ได้แก่ การแช่หมักโดยใช้เครื่องเขย่า การแช่หมักโดยใช้เครื่องเขย่าด้วยคลื่นความถี่สูง การแช่หมักโดยคลื่น ไมโครเวฟ และการสกัดแบบไหลย้อนกลับ จากการศึกษาพบว่าการสกัดด้วยตัวทำละลายเอธิลอะซิเตทโดยวิธีสกัดแบบไหลย้อนกลับให้ปริมาณสารอินเตอร์รับตินรวม (เอ บี และซี) สูงสุดเท่ากับ 0.21 %w/w ของน้ำหนัก ผงยาเริ่มต้น นอกจากนี้การใช้ตัวทำละลายไอโซโพรพานอลในการสกัดโดยโดยใช้เครื่องเขย่าด้วยคลื่นความถี่สูง ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสกัดสารกลุ่มอินเตอร์รับตินเอ บี และซีจากเฟิร์น C. terminans เนื่องจาก ให้ปริมาณสารอินเตอร์รับตินรวม (เอ บี และซี) (0.15 %w/w) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใช้ เอธิลอะซิเตท (0.14 %w/w) ในวิธีการสกัดเดียวกันและวิธีการหมักโดยใช้เครื่องเขย่า (0.16 %w/w) อย่างไรก็ตามการใช้ตัวทำละลายเอทานอล 95% แม้ว่าจะให้ปริมาณสารสกัดสูงกว่าการสกัดด้วยไอโซโพรพานอล และเอธิลอะซิเตท แต่การสกัดด้วย เอทานอล 95% สกัดได้เพียงอินเตอร์รับตินซีเท่านั้น ไม่สามารถสกัด อินเตอร์รับตินเอและบีได้ สารสกัดเฟิร์นที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอธิลอะซิเตทโดยวิธีสกัดแบบไหลย้อนกลับ และสารสกัดเฟิร์นที่สกัดด้วยตัวทำละลายไอโซโพรพานอลโดยใช้เครื่องเขย่าด้วยคลื่นความถี่สูงมีความคงตัวทางกายภาพและเคมีดี เมื่อเก็บในภาชนะปิดสนิทและป้องกันแสงที่อุณหภูมิต่าง ๆ ได้แก่ ในที่เย็น (4°C) อุณหภูมิห้อง (30°C) และในสภาวะเร่ง (45°C) รวมทั้งวางไว้ในที่มีแสงในอุณหภูมิห้อง (30°C) เป็นเวลานาน 3 เดือน และมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ แบคทีเรียกรัมบวกชนิด MSSA และ MRSA ได้โดยมีค่า MIC เท่ากับ 16-64 μg/ml โดยสารสกัดเฟิร์นที่สกัด ด้วยตัวทำละลายเอธิลอะซิเตทโดยวิธีสกัดแบบไหลย้อนกลับ มีฤทธิ์ดีกว่าสารสกัดเฟิร์นที่สกัดด้วยตัวทำละลาย ไอโซโพรพานอลโดยใช้เครื่องเขย่าด้วยคลื่นความถี่สูงประมาณ 2 เท่า ดังนั้นการพัฒนาวิธีการเตรียมสารสกัดเฟิร์น C. terminans ที่มีสารกลุ่มอินเตอร์รับตินในปริมาณสูงและมีความคงตัวดังกล่าวจึงมีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเวชสำอาง อาหารเสริมสุขภาพและยาในอนาคต