แนวทางการพัฒนาการผลิตพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรรายย่อย
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการจัดระบบการผลิตพืชผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง วิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ การจัดทำแปลงผลิตพืช การเคลื่อนไหวทางสังคม และการพัฒนาทุนทางสังคม ดำเนินการวิจัยในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ระหว่างปี2551-2553 ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบการผลิตพืชตามแนวเศร...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , , , , , , , |
---|---|
Format: | Technical Report |
Language: | th_TH |
Published: |
รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15638 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการจัดระบบการผลิตพืชผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง วิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ การจัดทำแปลงผลิตพืช การเคลื่อนไหวทางสังคม และการพัฒนาทุนทางสังคม ดำเนินการวิจัยในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ระหว่างปี2551-2553 ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบการผลิตพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คือการจัดกระบวนการผลิตพืชตามแนวทาง “4 เสาหลักสู่ความพอเพียง” ประกอบด้วย “หัวใจพอเพียง” สามารถสร้างความตั้งใจที่ใช้ชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาความเป็นเกษตรกรต้นแบบ “ภูมิปัญญาภิวัตน์พอเพียง” สามารถทดลองหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายภูมิปัญญา เช่น การป้องกันกำจัดแมลงด้วยกับดักกาวเหนียว การใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าว พืชไร่ ยางพารา และการปลูกพืชต่างระดับ 4 ชั้น “9 พืชผสมผสานพอเพียง” มีการปลูกพืช 9 กลุ่มพืช ได้แก่กลุ่มพืชรายได้พืชอาหาร พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ พืชสมุนไพรกำจัดศัตรูพืช พืชอาหารสัตว์ ไม้ใช้สอย พืชอนุรักษ์ดินและน้ำพืชอนุรักษ์พันธุ์กรรมและพืชพลังงาน เพิ่มขึ้น 36.3 ชนิด และ“การดำรงชีพพอเพียง” ทำให้มีคะแนนความพอเพียงเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก ผลการพัฒนาทำให้เกษตรกรมีความพอเพียงสูงกว่าเพื่อนบ้านเกือบทุกรายการ และแนวทางดังกล่าวนี้ยังนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป |
---|