พฤติกรรมสารสนเทศด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาวะเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานของผู้สูงอายุในจังหวัดปัตตานี

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศด้านสุขภาพ และปัญหาอุปสรรคในการแสวงหาและการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาวะเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานของผู้สูงอายุในจังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัดปัตตานี คัดเลือกด้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: นวพล แก้วสุวรรณ
Other Authors: Faculty of Humanities and Social Sciences (Library and Information Science)
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2022
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17399
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศด้านสุขภาพ และปัญหาอุปสรรคในการแสวงหาและการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาวะเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานของผู้สูงอายุในจังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัดปัตตานี คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง จำนวน 240 คน จำแนกตาม 12 อำเภอ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 รวมเวลา 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ผลวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมสารสนเทศด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาวะเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานของผู้สูงอายุในจังหวัดปัตตานี พบว่า อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการแสวงหาสารสนเทศด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̅ = 4.11) รองลงมา คือ ระดับการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพ (x̅ = 4.08) และระดับความต้องการสารสนเทศด้านสุขภาพ (x̅ = 4.06) สำหรับแหล่งสารสนเทศที่ใช้ในระดับมากที่สุด คือ แหล่งสารสนเทศสถาบัน (ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ชุมชน) (x̅ = 4.23) และ(2) ปัญหาอุปสรรคในการแสวงหาและการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาวะเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานของผู้สูงอายุในสังคมพหุวัฒนธรรม พบว่า อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับปัญหาอุปสรรคในการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x̅ = 4.02) รองลงมา คือ ระดับปัญหาอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศด้านสุขภาพ (x̅ = 3.98) การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้จะเป็นแนวทางในการออกแบบบริการสารสนเทศให้แก่สถาบันบริการสารสนเทศในพื้นที่ เช่น หอสมุดประชาชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือหอสมุดของสถานศึกษาในจังหวัดปัตตานี รวมถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการผลิตสารสนเทศด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ ฯลฯ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิต และการให้บริการสารสนเทศและความรู้ที่เป็นประโยชน์ เหมาะสมและสอดคล้องกับพฤติกรรมสารสนเทศด้านสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดปัตตานี นอกจากนี้หน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยังสามารถนำข้อเสนอแนะจากผลวิจัยไปใช้ในการกำหนดแผนนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมและดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุต่อไป