พฤติกรรมการสื่อสารสารสนเทศทางการเมืองของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารสารสนเทศทางการเมือง และศึกษาการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชน มีอายุตั้งแต่ 18 - 25 ปี และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Language: | Thai |
Published: |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตปัตตานี
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17553 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารสารสนเทศทางการเมือง และศึกษาการตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชน มีอายุตั้งแต่ 18 - 25 ปี และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา โดยจำแนกตามแหล่งที่อยู่อาศัย ได้แก่ สังคมเมือง และสังคมชนบท จำนวน 330 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการสื่อสารสารสนเทศทางการเมือง ประกอบด้วย
1.1 ความต้องการสารสนเทศทางการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.17) โดยต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวกับการเริ่มพูดคุยประเด็นทางการเมืองสูงที่สุด (x̅ = 4.27) รองลงมา คือ ต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวกับการร่วมรณรงค์ทางการเมือง (x̅ = 4.26) และต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมของพรรคการเมือง (x̅ = 4.26) ตามลำดับ
1.2 การแสวงหาสารสนเทศทางการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.54) โดยมีการแสวงหาสารสนเทศทางการเมืองจากแหล่งอินเตอร์เน็ตสูงที่สุด (x̅ = 4.41) รองลงมา คือ แหล่งองค์การทางการเมือง (x̅ = 3.80) และแหล่งสารสนเทศบุคคล (x̅ = 3.52) ตามลำดับ
1.3 การใช้สารสนเทศทางการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.47) โดยมีการใช้สารสนเทศทางการเมืองในด้านการใช้สิทธิเลือกตั้งสูงที่สุด (x̅ = 3.83) รองลงมา คือ ใช้สารสนเทศทางการเมืองในการแสดงความสนใจต่อกิจกรรมทางการเมือง (x̅ = 3.77) และใช้สารสนเทศทางการเมืองในการร่วมรณรงค์ทางการเมือง (x̅ = 3.71) ตามลำดับ
2. การเปิดรับสารสนเทศทางการเมือง มีการใช้โทรศัพท์เป็นเครื่องมือในการเปิดรับสารสนเทศจากเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด สำหรับวิธีในการได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ส่วนใหญ่ได้รับด้วยวิธีการได้ยินการสนทนาการเมือง ทั้งนี้ลักษณะของสารสนเทศทางการเมืองที่ได้รับส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะของเสียงโฆษณาพรรคการเมืองผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยคิดว่าคุณภาพของข่าวสารทางการเมืองที่ได้รับส่วนใหญ่ตรงกับความต้องการและนำไปใช้ในการตัดสินใจทางการเมืองได้
3. การตัดสินใจในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.33) โดยมีส่วนร่วมในด้านการใช้สิทธิเลือกตั้งสูงที่สุด (x̅ = 3.79) รองลงมา คือ การแสดงความสนใจต่อกิจกรรมทางการเมือง (x̅ = 3.64) และการชักจูงผู้อื่นให้เลือกตั้งผู้ที่ตนสนับสนุน (x̅ = 3.36) ทั้งนี้มีการตัดสินใจมีส่วนร่วมทางการเมืองในด้านการบริจาคเงินสนับสนุนและระดมทุนน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 2.97) |
---|