โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability?

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจการจัดทำและตำเนินการตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำรวจความคิดเห็นและการรับรู้ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว. และหน่วยงานต่างๆ ต่อแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและการส่งเสริมการประกอบการที่ยั่งยืน ให้แก่ SME สำรวจการรับรู้และความส...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พิชญา บุญศรีรัตน์, เฉลิม ใจตั้ง, ทศพร มะหะหมัด
Other Authors: Faculty of Economics (Economics)
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2022
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17641
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/309286
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
id th-psu.2016-17641
record_format dspace
institution Prince of Songkhla University
building Khunying Long Athakravi Sunthorn Learning Resources Center
continent Asia
country Thailand
Thailand
content_provider Khunying Long Athakravi Sunthorn Learning Resources Center
collection PSU Knowledge Bank
language Thai
description งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจการจัดทำและตำเนินการตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำรวจความคิดเห็นและการรับรู้ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว. และหน่วยงานต่างๆ ต่อแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและการส่งเสริมการประกอบการที่ยั่งยืน ให้แก่ SME สำรวจการรับรู้และความสนใจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคบริการต่อแนวคิดการประกอบการที่ยั่งยืน และความช่วยเหลือที่ต้องการเพื่อพัฒนากิจการไปในแนวทางดังกล่าว คณะผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบผสานวิธี โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจากสสว. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ ใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในภาคบริการ จากจังหวัดขอนแก่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสงขลา และจังหวัดกรุงเทพฯ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติก ร่วมกันเพื่อตอบวัตถุประสงค์การศึกษา ความเชื่อมโยงกันของเนื้อหาและเป้าหมายต้านการพัฒนา SME ระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กับแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 4 เกิดจากการประสานงานส่งต่อข้อมูลซึ่งกันและกันในระหว่างกระบวนการวางแผน โดยจะมีหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การตำเนินงานยุทธศาสตร์แต่ละด้านของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้ สสว.ซึ่งเป็น "เจ้าภาพ" ของแผนงานบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการ เศรษฐกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากล ได้สังเกตเห็นความซ้ำซ้อนกันทั้งในด้านวัตถุประสงค์ของโครงการและลักษณะการ จัดกิจกรรมของโครงการต่าง ๆ ที่ถูกเสนอเข้ามาภายใต้ช่องทางของการเสนอของบประมาณแบบบูรณาการ ผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานต่าง ๆ รับทราบ ยอมรับในความสำคัญ และเล็งเห็นถึงความเหมาะสมของการนำแนวคิด "การพัฒนาที่ยั่งยืน" มาใช้เป็นหลักการสำคัญของการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ผู้ให้ข้อมูลหลักจากหลายหน่วยงานมีความเข้าใจเบื้องต้นในความหมายของ "การประกอบการที่ยั่งยืน" ของธุรกิจ แต่เมื่อให้อธิบายถึงลักษณะของ SME ที่มีการประกอบการที่ยั่งยืนซึ่งหน่วยงานมีความคาดหวังว่าจะพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดขึ้น พบว่าส่วนใหญ่แล้ว ผู้ให้ข้อมูลหลักจะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้าน "กำไรของกิจการ (Profit)" มากกว่าองค์ประกอบด้าน "บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ (People)" และ "สิ่งแวดล้อม (Planet)" และส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ภาครัฐยังต้องดำรงบทบาทที่สำคัญในการสร้างมาตรการสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจ ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ออกแบบมาตรการทางภาษีที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในแนวทางนี้ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจโดยอาจให้ SME ได้เห็นตัวอย่างของวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืน เป็นต้น จากการเก็บข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคบริการ 231 กิจการ พบว่าเป็นวิสาหกิจ ที่มีอายุกิจการไม่เกิน 5 ปี ถึงร้อยละ 40.71 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวิสาหกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคล และไม่จดทะเบียนนิติบุคคลอยู่ในจำนวนที่ใกล้เคียงกันมาก จำนวนการจ้างงานในกิจการโดยเฉลี่ยชองกลุ่มตัวอย่าง อยู่ที่ 14.76 คน และวิสาหกิจกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.17 ไม่เคยกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการ วิสาหกิจกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 96.10 ไม่เคยขอรับคำปรึกษาจากทั้ง สสว. และศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (OSS) และกลุ่มตัวอย่างในสัดส่วนใกล้เคียงกันไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยสสว. หรือศูนย์ OSS ด้วย โดยเกือบ 1 ใน 3 ระบุว่าไม่เคยรู้จักหน่วยงานดังกล่าว ผลการประเมินตนเองด้านจุดอ่อนของกลุ่มตัวอย่าง มีความสอดคล้องกันกับมุมมองของผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยจุดอ่อนที่สำคัญของ SME คือ ปัญหาเรื่องการเข้าถึงเงินทุน ส่วนกรณีจุดแข็งนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถประเมินจุดแข็งของตนเองออกมาได้อย่างชัดเจน คือ การมีแรงงานที่มีความสามารถ แต่หน่วยงานต่าง ๆ กลับมีมุมมองในประเด็นนี้ที่ค่อนข้างหลากหลายแตกต่างกัน มาตรการความช่วยเหลือจากภาครัฐที่วิสาหกิจต้องการมากที่สุดใน 3 อันดับแรก ไต้แก่ การออกมาตรการลดหย่อนทางภาษี การปรับปรุงกฏเกณฑ์และระเบียบทางราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และการจัดหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะวิสาหกิจที่มีอายุกิจการไม่เกิน 5 ปี นั้น เป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการจัดหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากที่สุด มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 36.36 เท่านั้น ที่เคยได้ยินหรือรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการประกอบการที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับทราบและทำความเข้าใจเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 79.65 มีความสนใจ ที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว โดยเหตุผลหลักของความสนใจจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบด้าน "กำไรของกิจการ (Profit)" และร้อยละ 52.46 ของกลุ่มนี้ต้องการให้สสว. และ OSS ให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติของการประกอบการที่ยั่งยืน ด้านเงินทุน และ ด้านกฎระเบียบและนโยบายสนับสนุนธุรกิจ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากสสว. และ OSS นั้น ให้เหตุผลหลักคือต้องการมีอิสระในการดำเนินธุรกิจ ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) เพื่อทำนายโอกาสของความสนใจประกอบกิจการตามแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืน พบว่า มี 3 ตัวแปรที่ส่งผลต่อความสนใจของวิสาหกิจกลุ่มตัวอย่าง คือ (1) การกู้ยืมเงินของกิจการ หมายความว่า วิสาหกิจที่มีความสามารถกู้ยืมเงินหรือเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ จะมีความสนใจดำเนินการในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืนมากกว่า (2) คะแนน เห็นเฉลี่ยต่อแนวปฏิบัติในประเด็นด้านธรรมาภิบาล หมายความว่า วิสาหกิจที่เห็นด้วยกับการแยกระหว่างความเป็นเจ้าของกับผู้จัดการ มีแนวปฏิบัติ มาตรการส่งเสริม และมาตรการตรวจสอบด้านจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น จะมีความสนใจดำเนินการในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืนมากกว่า (3) คะแนนความเห็นเฉลี่ยต่อแนปฏิบัติในประเด็นด้านการจัดการด้านสังคม หมายความว่าวิสาหกิจที่เห็นด้วยกับการดำเนินธุรกิจโดยมีการสื่อสาร และคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภค มีการจัดกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับสังคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น จะมีความสนใจดำเนินการในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืนมากกว่า การพัฒนาศักยภาพของ SME ไทยยังจำเป็นต้องอาศัยบทบาทของสสว. และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งในด้านเงินทุนและการสร้งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เหมาะสม ด้วยการใช้มาตรการทางภาษีและการปรับปรุงกฎระเบียบทงธุรกิจต่าง ๆ กรณีของการส่งเสริมให้ SME ดำเนินกิจการไปในแนวทางของการประกอบการที่ยั่งยืน ก็เป็นเช่นเดียวกัน แม้ส่วนหนึ่งจะต้องเกิดจากความสนใจของ SME เอง แต่สสว. และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ก็ยังคงต้องมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และพัฒนากลไกการทำงานร่วมกัน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ และให้การสนับสนุนแก่วิสาหกิจที่มีความสนใจในแนวทางปฏิบัตินี้ต่อไป
author2 Faculty of Economics (Economics)
author_facet Faculty of Economics (Economics)
พิชญา บุญศรีรัตน์
เฉลิม ใจตั้ง
ทศพร มะหะหมัด
format Technical Report
author พิชญา บุญศรีรัตน์
เฉลิม ใจตั้ง
ทศพร มะหะหมัด
spellingShingle พิชญา บุญศรีรัตน์
เฉลิม ใจตั้ง
ทศพร มะหะหมัด
โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability?
author_sort พิชญา บุญศรีรัตน์
title โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability?
title_short โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability?
title_full โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability?
title_fullStr โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability?
title_full_unstemmed โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability?
title_sort โครงการวิจัย thailand sme promotional master plan: moving towards sustainability?
publisher มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
publishDate 2022
url http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17641
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/309286
_version_ 1751548909007667200
spelling th-psu.2016-176412022-11-17T05:02:56Z โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability? รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย Thailand SME promotional master plan: moving towards sustainability? พิชญา บุญศรีรัตน์ เฉลิม ใจตั้ง ทศพร มะหะหมัด Faculty of Economics (Economics) คณะเศรษฐศาสตร์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจการจัดทำและตำเนินการตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำรวจความคิดเห็นและการรับรู้ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว. และหน่วยงานต่างๆ ต่อแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและการส่งเสริมการประกอบการที่ยั่งยืน ให้แก่ SME สำรวจการรับรู้และความสนใจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคบริการต่อแนวคิดการประกอบการที่ยั่งยืน และความช่วยเหลือที่ต้องการเพื่อพัฒนากิจการไปในแนวทางดังกล่าว คณะผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบผสานวิธี โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจากสสว. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ ใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่อยู่ในภาคบริการ จากจังหวัดขอนแก่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสงขลา และจังหวัดกรุงเทพฯ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติก ร่วมกันเพื่อตอบวัตถุประสงค์การศึกษา ความเชื่อมโยงกันของเนื้อหาและเป้าหมายต้านการพัฒนา SME ระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กับแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 4 เกิดจากการประสานงานส่งต่อข้อมูลซึ่งกันและกันในระหว่างกระบวนการวางแผน โดยจะมีหลายหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การตำเนินงานยุทธศาสตร์แต่ละด้านของแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้ สสว.ซึ่งเป็น "เจ้าภาพ" ของแผนงานบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการ เศรษฐกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากล ได้สังเกตเห็นความซ้ำซ้อนกันทั้งในด้านวัตถุประสงค์ของโครงการและลักษณะการ จัดกิจกรรมของโครงการต่าง ๆ ที่ถูกเสนอเข้ามาภายใต้ช่องทางของการเสนอของบประมาณแบบบูรณาการ ผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานต่าง ๆ รับทราบ ยอมรับในความสำคัญ และเล็งเห็นถึงความเหมาะสมของการนำแนวคิด "การพัฒนาที่ยั่งยืน" มาใช้เป็นหลักการสำคัญของการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ผู้ให้ข้อมูลหลักจากหลายหน่วยงานมีความเข้าใจเบื้องต้นในความหมายของ "การประกอบการที่ยั่งยืน" ของธุรกิจ แต่เมื่อให้อธิบายถึงลักษณะของ SME ที่มีการประกอบการที่ยั่งยืนซึ่งหน่วยงานมีความคาดหวังว่าจะพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดขึ้น พบว่าส่วนใหญ่แล้ว ผู้ให้ข้อมูลหลักจะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้าน "กำไรของกิจการ (Profit)" มากกว่าองค์ประกอบด้าน "บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ (People)" และ "สิ่งแวดล้อม (Planet)" และส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ภาครัฐยังต้องดำรงบทบาทที่สำคัญในการสร้างมาตรการสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจ ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ออกแบบมาตรการทางภาษีที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในแนวทางนี้ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจโดยอาจให้ SME ได้เห็นตัวอย่างของวิสาหกิจที่ประสบความสำเร็จในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืน เป็นต้น จากการเก็บข้อมูลวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคบริการ 231 กิจการ พบว่าเป็นวิสาหกิจ ที่มีอายุกิจการไม่เกิน 5 ปี ถึงร้อยละ 40.71 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวิสาหกิจที่จดทะเบียนนิติบุคคล และไม่จดทะเบียนนิติบุคคลอยู่ในจำนวนที่ใกล้เคียงกันมาก จำนวนการจ้างงานในกิจการโดยเฉลี่ยชองกลุ่มตัวอย่าง อยู่ที่ 14.76 คน และวิสาหกิจกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.17 ไม่เคยกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการ วิสาหกิจกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 96.10 ไม่เคยขอรับคำปรึกษาจากทั้ง สสว. และศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร (OSS) และกลุ่มตัวอย่างในสัดส่วนใกล้เคียงกันไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยสสว. หรือศูนย์ OSS ด้วย โดยเกือบ 1 ใน 3 ระบุว่าไม่เคยรู้จักหน่วยงานดังกล่าว ผลการประเมินตนเองด้านจุดอ่อนของกลุ่มตัวอย่าง มีความสอดคล้องกันกับมุมมองของผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยจุดอ่อนที่สำคัญของ SME คือ ปัญหาเรื่องการเข้าถึงเงินทุน ส่วนกรณีจุดแข็งนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถประเมินจุดแข็งของตนเองออกมาได้อย่างชัดเจน คือ การมีแรงงานที่มีความสามารถ แต่หน่วยงานต่าง ๆ กลับมีมุมมองในประเด็นนี้ที่ค่อนข้างหลากหลายแตกต่างกัน มาตรการความช่วยเหลือจากภาครัฐที่วิสาหกิจต้องการมากที่สุดใน 3 อันดับแรก ไต้แก่ การออกมาตรการลดหย่อนทางภาษี การปรับปรุงกฏเกณฑ์และระเบียบทางราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และการจัดหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะวิสาหกิจที่มีอายุกิจการไม่เกิน 5 ปี นั้น เป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการจัดหาแหล่งเงินทุนและสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากที่สุด มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 36.36 เท่านั้น ที่เคยได้ยินหรือรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการประกอบการที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับทราบและทำความเข้าใจเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 79.65 มีความสนใจ ที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว โดยเหตุผลหลักของความสนใจจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบด้าน "กำไรของกิจการ (Profit)" และร้อยละ 52.46 ของกลุ่มนี้ต้องการให้สสว. และ OSS ให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติของการประกอบการที่ยั่งยืน ด้านเงินทุน และ ด้านกฎระเบียบและนโยบายสนับสนุนธุรกิจ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากสสว. และ OSS นั้น ให้เหตุผลหลักคือต้องการมีอิสระในการดำเนินธุรกิจ ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) เพื่อทำนายโอกาสของความสนใจประกอบกิจการตามแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืน พบว่า มี 3 ตัวแปรที่ส่งผลต่อความสนใจของวิสาหกิจกลุ่มตัวอย่าง คือ (1) การกู้ยืมเงินของกิจการ หมายความว่า วิสาหกิจที่มีความสามารถกู้ยืมเงินหรือเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ จะมีความสนใจดำเนินการในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืนมากกว่า (2) คะแนน เห็นเฉลี่ยต่อแนวปฏิบัติในประเด็นด้านธรรมาภิบาล หมายความว่า วิสาหกิจที่เห็นด้วยกับการแยกระหว่างความเป็นเจ้าของกับผู้จัดการ มีแนวปฏิบัติ มาตรการส่งเสริม และมาตรการตรวจสอบด้านจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น จะมีความสนใจดำเนินการในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืนมากกว่า (3) คะแนนความเห็นเฉลี่ยต่อแนปฏิบัติในประเด็นด้านการจัดการด้านสังคม หมายความว่าวิสาหกิจที่เห็นด้วยกับการดำเนินธุรกิจโดยมีการสื่อสาร และคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้บริโภค มีการจัดกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับสังคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น จะมีความสนใจดำเนินการในแนวทางการประกอบการที่ยั่งยืนมากกว่า การพัฒนาศักยภาพของ SME ไทยยังจำเป็นต้องอาศัยบทบาทของสสว. และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งในด้านเงินทุนและการสร้งสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เหมาะสม ด้วยการใช้มาตรการทางภาษีและการปรับปรุงกฎระเบียบทงธุรกิจต่าง ๆ กรณีของการส่งเสริมให้ SME ดำเนินกิจการไปในแนวทางของการประกอบการที่ยั่งยืน ก็เป็นเช่นเดียวกัน แม้ส่วนหนึ่งจะต้องเกิดจากความสนใจของ SME เอง แต่สสว. และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ก็ยังคงต้องมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และพัฒนากลไกการทำงานร่วมกัน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ และให้การสนับสนุนแก่วิสาหกิจที่มีความสนใจในแนวทางปฏิบัตินี้ต่อไป 2022-11-17T05:00:37Z 2022-11-17T05:00:37Z 2562 Technical Report http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17641 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/309286 th มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์