โมบายล์แอปพลิเคชั่นเพื่อการสืบค้นเส้นทางอพยพหนีภัยและศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยพิบัติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดฝั่งอันดามัน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลเส้นทางการอพยพ จุดรวมพล และศูนย์พักพิง ในจังหวัดฝั่งอันดามัน คือ ตรัง สตูล กระบี่ พังงา และภูเก็ต และสำรวจความต้องการข้อมูลที่มีในโมบายล์แอปพลิเคชั่น เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลสำหรับพัฒนาโมบายล์แอพลิเคชั่นเพื่อการสืบค้นเส้นทางอพยพหนีภัยจุดรวมพลและศูนย์พักพิ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อรญา สุวรรณโณ, สมพร คุณวิชิต, สุวิทย์ สุวรรณโณ
Other Authors: Faculty of Management Sciences (Business Administration)
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2022
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17676
https://rdo.psu.ac.th/ResearchProject/reDetail.php?pro_id=16124
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลเส้นทางการอพยพ จุดรวมพล และศูนย์พักพิง ในจังหวัดฝั่งอันดามัน คือ ตรัง สตูล กระบี่ พังงา และภูเก็ต และสำรวจความต้องการข้อมูลที่มีในโมบายล์แอปพลิเคชั่น เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลสำหรับพัฒนาโมบายล์แอพลิเคชั่นเพื่อการสืบค้นเส้นทางอพยพหนีภัยจุดรวมพลและศูนย์พักพิงสำหรับจังหวัดในฝั่งอันดามัน เมื่อสำรวจข้อมูลจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวน 757 คนพบว่า สิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญสูงสุด 2 อันดับแรก คือโมบายล์แอปพลิเคชั่นต้องมี 2 ภาษา และ ฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ ต้องเรียบง่ายและไม่ชับซ้อน งนี้โมบายล์แอปพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นนั้นใช้เทคนิคการระบุตำแหน่ง (Location Based Service) และระบบพิกัตเชิงพื้นที่ (GPS) โดยสามารถระบุตำแหน่งของจุดรวมพล และสถานที่พักพิงได้ นอกจากนั้นยัง สามารถสืบคันเส้นทางการอพยพและนำทางไปยังสถานที่ปลอดภัยที่อยู่ใกล้เคียง สามารถแชร์ภาพ ณ สถานที่ เกิดเหตุเข้าสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์ สืบค้นหาผู้เสียหายที่อยู่ในสถานที่พักพิงได้ โดยสามารถใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) และระบบปฏิบัติการไอโอเอส (IOS) และสามารถใช้งานได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากผลการสำรวจความพึงพอใจของการใช้งานแอปพลิเคชั่นจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชาวบ้านในชุมชนและนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 390 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามรับรู้ถึงประโยชน์ของโมบายล์แอปพลิเคชั่นในการค้นหาข้อมูลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยมากที่สุด ถึงร้อยละ 87.18 แอปพลิเคชั่นมีความง่ายในการใช้งานร้อยละ 82.05 และมีโอกาสในการโหลดมาใช้งานร้อย ละ 83.33